กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17901
ชื่อเรื่อง: | ความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีตามแนวคิดองค์กรแห่งความสุข : กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Living Happiness of Undergraduate Students at Prince of Songkla University, Pattani campus on Happy Workplace Model: A Case Study of Students at Prince of Songkla University, Pattani campus รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีตามแนวคิดองค์กรแห่งความสุข : กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นัทธมน ราชเสน คณะรัฐศาสตร์ Faculty of Political Science |
คำสำคัญ: | การจัดการตนเอง (จิตวิทยา) สำหรับวัยรุ่น;นักศึกษา การดำเนินชีวิต |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The purposes of this research were 1) to examine levels of undergraduate students' living happiness at Prince of Songkla University (PSU), Pattani campus from happy workplace model 2) to compare levels of living happiness from undergraduate students who were studying in various faculties at PSU, Pattani Campus 3) to study development guideline and increase effectiveness on happy workplace building in perspective of undergraduate students at PSU, Pattani campus. This research was mixed methods research based on the qualitative research and qualitative research. Data was collected by using questionnaire with 367 students and semi-structured in- depth interviews with 16 students at PSU, Pattani campus. The statistical methods applied in this research were percentage, mean, standard deviation to analyze and describe personal factors. Moreover, Independent-Samples T Test and One - way ANOVA analyzed and compared personal factors affecting to living happiness at PSU,Pattani campus on happy workplace model which contains 8 happy criteria; happy body, happy heart, happy money, happy relax, happy brain, happy soul, happy family and happy society at the 0.05 level of significance. The findings revealed that 1) the students' living happiness was at high level (X = 3.19), 2) personal factors were gender and residence affecting to living happiness at (PSU), Pattani campus, 3) gender, hometown, GPA and faculty student club affected to students' living happiness in happy body criteria, 4) gender and hometown affected to students' living happiness in happy heart criteria, 5 ) gender affected to students' living happiness in happy money, relaxes and brain criteria, 6) gender, hometown and residence affected to students' living happiness in happy soul criteria, 7) monthly income, residence and student club affected to students' living happiness in happy family criteria, 8) monthly income and residence affected to students' living happiness in happy society criteria. In summary, personal factors affected to students' living happiness with statistical significance. The finding of qualitative was consistent with quantitative. There is no significant different in the results by comparing the levels of living happiness of the faculties in Prince of Songkla University, Pattani campus. Reguarding the development guideline and increase effectiveness on happy workplace building in perspective of undergraduate students at PSU, Pattani campus they researcher found that there were 1)establishing main organization to handle this task, 2)supporting identity creating of the PSU Graduates in order to have "friendly image" to others, 3)supporting businesses operated by the students, 4) having recreation areas for students, and having activities for students consistently, 5)extending library operating hours, having more space for the student's activities such as reading, tuition, and working, 6) supporting student' s self-expression and, PSU Graduates's identity "our souls is for benefit of mankind" , 7)bringing good quality of life and environment during living in the campus to their home, and 8)having good role models from PSU lecturers and staffs and good advices in any matters during campus day. |
Abstract(Thai): | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อการศึกษาระดับความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีตามแนวคิดขององค์กรแห่งความสุข 2)เพื่อเปรียบเทียบระดับความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 3)เพื่อศึกาแนวทางการพัฒนาและการเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างองค์กรแห่งความสุขในมุมมองของนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณผสมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) จำนวน 367 ชุด และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จำนวน 16 คน ใช้คำถามแบบกึ่งมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูลจะประกอบไปด้วย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์และอธิบายลักษณะปัจจัยส่วนบุคคล การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มตัวอย่างอิสระจากกัน (Independent-Samples T Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลต่อความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีตามแนวคิดองค์กรแห่งความสุข 8 ประการ และการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยสงขลานครนิทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตามแนวคิดองค์กรแห่งความสุข 8 ประการ โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ 0.05 ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีมีความสุขอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.90 โดยปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ที่พักระหว่างเรียนมีผลต่อความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยฯ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยด้าน Happy Body (สุขภาพดี) ได้แก่ เพศ ภูมิลำเนา เกรดเฉลี่ย องค์กรกิจกรรมที่สังกัด (สโมสรนักศึกษา) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยด้าน Happy Heart (น้ำใจงาม) ได้แก่ เพศ ภูมิลำเนา ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยด้าน Happy Money (การมีเศรษฐกิจที่ดี) ได้แก่ เพศ ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยด้าน Happy Relax (การรู้จักผ่อนคลาย) ได้แก่ เพศ ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยด้าน Happy Brain (การหาความรู้) ได้แก่ เพศ ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยด้าน Happy Soul (การมีคุณธรรมจริยธรรม) ได้แก่ เพศ ภูมิลำเนา ที่พักระหว่างเรียน ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยด้าน Happy Family (ครอบครัวดี) ได้แก่ รายรับประจำเดือน ที่พักระหว่างเรียน องค์กรกิจกรรมที่สังกัด (องค์กรภาคประชาสังคม) และปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยด้าน Happy Society (สังคมดี) ได้แก่ รายรับประจำเดือน ที่พักระหว่างเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมีความสอดคล้องกัน และผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาระดับปริญญารตรีคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีไม่แตกต่างกัน ส่วนแนวทางการพัฒนาและการเมประสิทธิภาพการสร้างองค์กรแห่งความสุขในมุมมองของนักศึกษาระกับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้แก่ มีองค์กรหลักที่ส่งเสริมการมีสุขภาพดีอย่างจริงจังและเป็นระบบ การส่งเสริมอัตลักษณ์บัณฑิตองมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีให้มีคุณสมบัติของ “ความเป็นมิตร” แก่ผู้ที่พบเห็นโดยทั่วไป การส่งเสริมดำเนินธุรกิจโดยนักศึกษา การมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับนักศึกษา และการมีกิจกรรมต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การเพิ่มเวลาการเปิดห้องสมุดให้ยาวนานมากขึ้นและการมีพื้นที่/ห้องสำหรับการทำงาน ทำการบ้าน/การอ่านหนังสือ/การติวข้อสอบ การได้แสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมและส่งเสริมการเป็นอัตลักษณ์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ “การถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” รวมถึงการนำคุณภาพชีวิตที่และสภาพแวดล้อมที่ดีในขณะที่อาศัยอยู่ในมหาวิทยาลัยไปพัฒนาและประยุกต์ใช้กับครอบครัว และการมีแบบอย่างที่ดีของคณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมถึงคำแนะนำต่างๆ ในเรื่องของการใช้ชีวิตนักศึกษา |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17901 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 196 Research |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
447781-abstract.pdf | 2.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น