Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17879
Title: การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์และเจตคติที่มีต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยวิธีการแบบเปิด
Other Titles: A Study of Grade 5 Students’ Mathematical Creativity and Attitude by using Open Approach
Authors: รัชดา เชาวน์เสฏฐกุล
อรรถพร เพชรสงค์
Faculty of Education (Learning, Teaching, and Curriculum program)
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการเรียนรู้ การสอน และหลักสูตร
Keywords: วิธีการแบบเปิด;ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์;เจตคติที่มีต่อคณิตศาสตร์;คณิตศาสตร์ การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research aimed to study of mathematical creativity and attitude toward mathematics of students by using open approach in mathematics. The target group consisted of 44 students prathomsuksa 5/1 in the second semester of 2021 academic year from Ban Sungaiko-lok School. It was selected by a class that the researcher manages to learn and a class that focuses on the students' special abilities in science and mathematics. This research was a qualitative research by protocol analysis coupled with analysis description in describing the student's creativity that arises and This research was a quantity research to analyze students' attitude toward mathematics. The research instruments were (1) the lesson plan by open approach, 10 plans. The Learning management was spent for 10 hours. (2) attitude test towards mathematics (3) Field Note (4) video and photo recording using ShareX program and (5) the students' performance. The data were analyzed using the criteria are measured and assessed according to Torrance's creativity implications, which a full score of 3 points in each aspect. The results of the study revealed that the 1. A study of students' mathematical creativity by using open approach in mathematics when considering the components of creativity in each aspect, it was found that 1.1 The Elaboration with the highest average score 1.88 where students are planning systematic thinking write their own ideas on the math activity sheet along with explaining how to think based on mathematical principles that are appropriate and consistent with the problem situation. 1.2 The Fluency with the average score of 1.84 where students try to come up with an appropriate answer and write their own ideas on the math activity sheet for several answers to the given open-ended problem situations within the specified time. 1.3 The Originality with the average score of 1.62 where students choose the mathematical principles that are appropriate for the problem situation. Only a handful of students in the entire class chose this method by relying on their own experiences and prior knowledge to solve problems Therefore, the method is unique. 1.4 The Flexibility with the lowest average score 1.88 where students try to organize groups of solutions or ideas. Most of them appear to have two groups of ideas for solving problems from the given open-ended problem situation. 2. A study of students' attitude toward mathematics by using open approach in mathematics found that open approach promotes a positive attitude towards mathematics. The students feel excited, enthusiastic, fun and confident in solving math problems when the teacher gives an encourage and suggests to solve problems. They proud when they succeed to solve math problems by themselves. Therefore, students like to study mathematics and they’re very glad to apply this knowledge in their daily life.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์และเจตคติ ที่มีต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการแบบเปิดในรายวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ห้องเรียนพิเศษ โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก อ าเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จ านวน 44 คน โดยเลือกอย่าง เฉพาะเจาะจงจากชั้นเรียนที่ผู้วิจัยท าการจัดการเรียนรู้และเป็นชั้นเรียนที่เน้นความสามารถพิเศษของ นักเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการวิเคราะห์โพรโตคอล (Protocol Analysis) ประกอบการบรรยายเชิงวิเคราะห์ (Analysis Description) ในการอธิบายความคิด สร้างสรรค์ของนักเรียนที่เกิดขึ้น รวมถึงการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณในการวิเคราะห์เจตคติที่มีต่อ คณิตศาสตร์ของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการ จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด จ านวน 10 แผน ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 10 ชั่วโมง (2) แบบ วัดเจตคติที่มีต่อคณิตศาสตร์ (3) แบบบันทึกภาคสนาม (4) การบันทึกวิดีโอและภาพนิ่ง โดยใช้ โปรแกรม ShareX และ (5) ผลงานนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เกณฑ์การวัดและประเมินตาม ความหมายความคิดสร้างสรรค์ของ Torrance ซึ่งคะแนนเต็ม 3 คะแนนในแต่ละด้าน ผลการวิจัย พบว่า 1. การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการแบบ เปิดในรายวิชาคณิตศาสตร์ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็นรายด้าน พบว่า 1.1 ด้านการคิดละเอียดลออ มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดเป็น 1.88 นักเรียนมี การวางแผน จัดระบบทางความคิด และเขียนแนวคิดของตนเองลงใบกิจกรรมคณิตศาสตร์ พร้อมทั้ง อธิบายถึงวิธีการคิดตามหลักการคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา 1.2 ด้านการคิดคล่อง มีคะแนนเฉลี่ยเป็น 1.84 นักเรียนพยายามคิดหา ค าตอบที่เหมาะสมและเขียนแนวคิดของตนเองลงใบกิจกรรมคณิตศาสตร์หลาย ๆ ค าตอบจาก สถานการณ์ปัญหาปลายเปิดที่ก าหนดให้ ภายในระยะเวลาที่ก าหนด 1.3 ด้านการคิดริเริ่ม มีคะแนนเฉลี่ยเป็น 1.62 นักเรียนเลือกใช้หลักการ ทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหานั้นได้ถูกต้อง มีนักเรียนเลือกใช้ วิธีการนี้เพียงไม่กี่คนของนักเรียนในชั้นเรียนทั้งหมด โดยอาศัยประสบการณ์ความรู้เดิมของตนเองมา แก้ปัญหา จึงท าให้วิธีการนั้นมีความแปลกใหม่ ไม่ซ้ าใคร 1.4 ด้านการคิดยืดหยุ่น มีคะแนนเฉลี่ยต่ าที่สุดเป็น 1.55 นักเรียนพยายาม จัดกลุ่มของวิธีการแก้ปัญหาหรือแนวคิด ซึ่งส่วนมากปรากฎได้จ านวน 2 กลุ่มแนวคิดในการแก้ปัญหา จากสถานการณ์ปัญหาปลายเปิดที่ก าหนดให้ 2. การศึกษาเจตคติที่มีต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการแบบเปิดใน รายวิชาคณิตศาสตร์ พบว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดส่งเสริมเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ท าให้นักเรียนรู้สึกตื่นเต้น กระตือรือร้น สนุกสนาน มั่นใจในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เมื่อครูให้ ก าลังใจ ชี้แนะในการแก้ปัญหา จนเกิดความภาคภูมิใจเมื่อพยายามแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยตนเอง จนส าเร็จ จึงท าให้ชอบที่จะเรียนคณิตศาสตร์ และรู้สึกดีใจอย่างยิ่งที่สามารถน าความรู้ไปใช้ใน ชีวิตประจ าวันได้จริง
Description: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน),2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17879
Appears in Collections:270 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6320120620.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons