Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17862
Title: | Effects of Southern Thai Traditional Massage and Warm Compression in the Early Postpartum on Lactation and Breast Engorgement Among Primiparous Mothers |
Other Titles: | ผลของการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้และการประคบอุ่นในระยะแรกหลังคลอดต่อการหลั่งน้ำนมและการคัดตึงเต้านมในมารดาครรภ์แรก |
Authors: | Sopen Chunuan Sasitorn Phumdoung Chudanut Khoonphet Faculty of Nursing (Nursing Science) คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ |
Keywords: | Breast engorgement;Lactation;Southern Thai traditional massage;Warm compression;Breastfeeding |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | Prince of Songkla University |
Abstract: | The common breastfeeding problems including delayed onset of lactation, insufficient milk volume, and breast engorgement are important barriers to successful exclusive breastfeeding among primiparous mothers. These problems can cause primiparous mothers to stop exclusive breastfeeding early. It is necessary to develop an intervention for promoting the onset of lactation, increasing milk volume, and decreasing breast engorgement in primiparous mothers to improve the success of exclusive breastfeeding. Therefore, this study investigated the effects of Southern Thai traditional massage and warm compression in the early postpartum on lactation and breast engorgement among primiparous mothers. The study design was a randomized controlled trial. Participants were primiparous mothers who met the inclusion criteria. A minimized randomization program was used to assign the participants into the Southern Thai traditional massage and warm compression (STMW), the Southern Thai traditional massage (STM), and the control groups and to control for the confounding variables. The total number of participants in this study was 63. The STMW group (n = 21) received 5 minutes of the Southern Thai traditional massage per breast and 15 minutes of warm compression. The STM group (n = 21) received 5 minutes of the Southern Thai traditional massage per breast. Both interventions were provided 4 times (the 1st time of intervention: at 4-5 hours, the 2nd time of intervention: 10-11 hours, the 3rd time of intervention: 28-29 hours, and the 4th time of intervention: 34-35 hours after giving birth). The control group (n = 21) received the routine care. The onset of lactation was measured by the primiparous mothers who were observed and interviewed every 3 hours after giving birth in the daytime. Milk volume and breast engorgement were measured after finishing the intervention at the 1st time of observation (10-11 hours after giving birth), the 2nd time of observation (28-29 hours after giving birth), and the 3rd time of observation (34-35 hours after giving birth). Descriptive statistics were used to analyze the characteristics of the sample. The chi-square test was used to analyze the differences of nominal data. One-way ANOVA was used to analyze the differences across groups for the continuous data and compare the duration of time after giving birth until the onset of lactation. Repeated-measures ANOVA was used to compare milk volume and breast engorgement across three time points. The results showed that the onset of lactation was significantly earlier in the STMW group (M = 37.00, SD = 2.56) than in the STM group (M = 40.57, SD = 2.94) and in the control group, and significantly earlier in the STM group than in the control group (M = 45.71, SD = 2.49) (p < .001). In terms of milk volume, comparisons of mean score of milk volume among groups revealed that STMW group was significantly higher than the STM group (p < .001) and the control group (p < .001), the STM group was significantly higher than the control group (p = .009). In addition, the mean score of milk volume within group showed that the milk volume in all group measured at the 3rd time of observation was significantly higher than that at the 1st and the 2nd time of observations (p < .001) and milk volume at the 2nd time of observation was significantly higher than that at the 1st time of observation (p < .001). The interaction between treatments and times of milk volume was significant (p < .001). Breast engorgement of the STMW group was significantly lower than that in the STM group (p < .05) and the control group (p < .05), and that in the STM group was significantly lower than that in the control group (p < .05). Moreover, the mean score of breast engorgement measured at the 1st time of observation was significantly lower than that at the 2nd time (STMW, STM, and control groups, p = .005, .001, and < .001, respectively) and that at the 3rd time of observation (p < .001), and that measured at the 2nd time of observation was significantly lower than that at the 3rd time of observation (p < .001). The interaction between treatment and time of breast engorgement was significant (p < .001). In conclusion, the STMW intervention applied in the early postpartum at 4 times: at 4-5 hours, 10-11 hours, 28-29 hours, and 34-35 hours after giving birth, can promote lactation and prevent breast engorgement. Therefore, the STMW intervention be a useful contributing for nurse practitioners and nurse educators in promoting lactation and preventing breast engorgement. |
Abstract(Thai): | ปัญหาที่พบบ่อยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ การมีน้ำนมเต็มเต้าล่าช้า ปริมาณน้ำนมไม่เพียงพอ และการคัดตึงเต้านม ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดาครรภ์แรก ปัญหาเหล่านี้ทำให้มารดาครรภ์แรกหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องพัฒนาวิธีการส่งเสริมการมีน้ำนมเต็มเต้า เพิ่มปริมาณน้ำนมและลดการตัดตึงเต้านมในมารดาครรภ์แรกเพื่อเพิ่มความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ดังนั้น การวิจัยนี้จึงศึกษาผลของการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้และการประคบอุ่นในระยะแรกหลังคลอดต่อการหลั่งน้ำนมและการคัดตึงเต้านมในมารดาครรภ์แรก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม กลุ่มตัวอย่างคือมารดาครรภ์แรกที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การคัดเข้าของงานวิจัย ใช้โปรแกรมมินิไม แรนดอมไมเซชั่น (minimized randomization) ในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้และการประคบอุ่น กลุ่มการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้ และกลุ่มควบคุม รวมทั้งควบคุมตัวแปรกวน จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดในการวิจัยครั้งนี้คือ 63 ราย กลุ่มการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้และการประคบอุ่นจำนวน 21 ราย ซึ่งได้รับการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้บริเวณเต้านมข้างละ 5 นาทีและการประคบอุ่น 15 นาที กลุ่มการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้จำนวน 21 ราย ซึ่งได้รับการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้บริเวณเต้านมข้างละ 5 นาที ทั้งสองวิธีการแทรกแซงนี้กระทำ 4 ครั้งในช่วง 2 วันแรกหลังคลอด คือ ครั้งที่ 1 เมื่อ 4-5 ชั่วโมง, ครั้งที่ 2 เมื่อ 10-11 ชั่วโมง, ครั้งที่ 3 เมื่อ 28-29 ชั่วโมงและครั้งที่ 4 เมื่อ 34-35 ชั่วโมงหลังคลอด กลุ่มควบคุมจำนวน 21 ราย ซึ่งได้รับการดูแลตามปกติ การมีน้ำนมเต็มเต้าประเมินโดยการสังเกตของมารดาครรภ์แรกและการสัมภาษณ์ทุก 3 ชั่วโมงหลังคลอดในเวลากลางวัน ปริมาณน้ำนมและการคัดตึงเต้านมประเมินหลังได้รับการแทรกแซง คือ ครั้งที่ 1 เมื่อ 10-11 ชั่วโมงหลังคลอด, ครั้งที่ 2 เมื่อ 28-29 ชั่วโมงหลังคลอด และครั้งที่ 3 เมื่อ 34-35 ชั่วโมงหลังคลอด ใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ลักษณะกลุ่มตัวอย่าง ใช้สถิติการทดสอบไคสแควร์วิเคราะห์ข้อมูลระดับนามบัญญัติ ใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียววิเคราะห์ความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างสำหรับข้อมูลแบบต่อเนื่องและเปรียบเทียบระยะเวลาตั้งแต่หลังคลอดจนกระทั่งมีน้ำนมเต็มเต้า ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำเปรียบเทียบปริมาณน้ำนมและการคัดตึงเต้านม ระหว่าง 3 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่า การมีน้ำนมเต็มเต้าของกลุ่มที่ได้รับการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้และการประคบอุ่น (M = 37.00, SD = 2.56) เกิดขึ้นเร็วกว่ากลุ่มที่ได้รับการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้ (M = 40.57, SD = 2.94) และกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) กลุ่มที่ได้รับการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้เร็วกว่ากลุ่มควบคุม (M = 45.71, SD = 2.49) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ในส่วนของปริมาณน้ำนม การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของปริมาณน้ำนมระหว่างกลุ่มพบว่า กลุ่มที่ได้รับการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้และการประคบอุ่นมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้ (p < .001) และกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) กลุ่มที่ได้รับการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .009) นอกจากนี้คะแนนเฉลี่ยของปริมาณน้ำนมภายในกลุ่มพบว่า ปริมาณน้ำนมของทุกกลุ่มในการสังเกตครั้งที่ 3 มากกว่าครั้งที่ 1 (p < .001) และครั้งที่ 2 (p < .001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปริมาณน้ำนมในการสังเกตครั้งที่ 2 มากกว่าครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการรักษาและเวลาของปริมาณน้ำนมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) การคัดตึงเต้านมของกลุ่มที่ได้รับการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้และการประคบอุ่นน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้ (p < .05) และกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) กลุ่มที่ได้รับการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) นอกจากนี้คะแนนเฉลี่ยของการคัดตึงเต้านมที่วัดได้เมื่อครั้งที่ 1 ของการสังเกตน้อยกว่าครั้งที่ 2 (กลุ่มที่ได้รับการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้และการประคบอุ่น, กลุ่มที่ได้รับการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้, และกลุ่มควบคุม, p = .005, .001, และ < .001 ตามลำดับ) และครั้งที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) เช่นเดียวกับการสังเกตครั้งที่ 2 น้อยกว่าครั้งที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการรักษาและเวลาของการคัดตึงเต้านมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) สรุปผลการวิจัย การนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้และการประคบอุ่น 4 ครั้ง เมื่อเวลา 4-5 ชั่วโมง, 10-11 ชั่วโมง, 28-29 ชั่วโมง, และ 34-35 ชั่วโมงหลังคลอด สามารถส่งเสริมการสร้างและหลั่งน้ำนมแม่ และป้องกันการคัดตึงเต้านม ดังนั้น การแทรกแซงโดยการนวดพื้นบ้านไทยภาคใต้และการประคบอุ่นมีประโยชน์ในการนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลและการสอนเพื่อส่งเสริมการสร้างและหลั่งน้ำนม และป้องกันการคัดตึงเต้านม |
Description: | Doctor of Philosophy Program (Nursing Science) (International Program)) |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17862 |
Appears in Collections: | 641 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6110430009.pdf | 3.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License