Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17859
Title: Musca domestica L. Diets, Botanical Control of Muscid Flies (Muscidae) and Detection of Escherichia coli from Filth Flies in Local Markets of Hat Yai District, Songkhla Province
Other Titles: อาหารของหนอนแมลงวันบ้าน Musca domestica L. การควบคุมโดยใช้สารสกัดจากน้ำมันหอมระเหยเพื่อควบคุมแมลงวันกลุ่ม Muscid flies และการตรวจสอบหาเชื้อ Escherichia coli จากแมลงวันตอมสิ่งปฎิกูลในตลาดอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา
Authors: Krajana Tainchum
Warin Klakankhai
Faculty of Natural Resources (Pest Management)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช
Keywords: Housefly;Musca domestica
Issue Date: 2022
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: The house fly, Musca domestica L. (Diptera: Muscidae) is an important insect pest that lives close to humans and can be medically significant as mechanical vectors of different pathogens from unsanitary places to human food. Objectives of this study were to 1) compare larval weight rate and larval nutritionally component of house fly after feeding three different types of larval diet under laboratory conditions 2) determine the insecticidal efficacy and optimal discriminating lethal concentration of Thai essential oils against laboratory strains of M. domestica (larval and adult stages) and adult field population of Stomoxys indicus (Picard), and 3) survey the pathogenic bacteria, Escherichia coli which infected in the filth flies from local markets of Hat Yai, Songkhla Province. For the primary objective, a completely randomized design were performed to compare treatments which included Diet 1: fishery waste - head bone of sea bass, Lates calcarifer (Bloch) and Diet 2: wet commercial cat food to standard Diet of M. musca domestica as a positive control with 10 repetitions for each diet. After 5-d period in each replicate, ten 3rd instar larvae were randomly selected for weight measurement and 150 dried larvae were used for analysis of nutritional composition. By using One-way ANOVA with post-hoc Tukey HSD (Honestly Significant Difference) Test, the mean weights of larvae feeding in Diet 1 (0.41 g/larva) was significantly higher than Diet 2 (0.247 g/larva) and standard Diet (0.253 g/larva). Additionally, percentage of crude fat of larvae in Diet 1 was significant high as larvae in standard Diet, suggested that Diet 1 was an additional option M. domestica diet. The secondary objective was to determine the insecticidal efficacy of native Thai essential oils (clove (Syzygium aromaticum (L.) Merr. & Perry), citronella laurel (Cinnamomum porrectum Kosterm), and pheasant pepper tree (Litsea cubeba Pers)) against larvae and adults of M. domestica, and wild-caught adult of stable fly, Stomoxys indicus. Dipping assays and the World Health Organization cone bioassay system were performed for the larvicidal and adulticidal activities. Cypermethrin and ethyl alcohol were used for the positive and negative control, respectively. Result of larvicidal bioassay showed that 10%v/v of three essential oils gave high percentage of knockdown (KD) and mortality. The lowest concentration of citronella laurel at 6.134%v/v produced the most effective larvicidal activity. For the adulticidal activity of M. domestica, 5% v/v of pheasant pepper tree gave the highest in 100% KD, 93.33% mortality, and LC50 of 3.82%. For adulticide activity on S. indicus, clove oil gave the highest LC50 value at 0.284%. A survey of the pathogenic bacteria, E. coli infected in filth flies from local markets in Hat Yai District, Songkhla Province exhibited the positive result for M. domestica, M. autumnalis, and M. crassirostris in family Muscidae. So, this study confirmed that muscid flies are a mechanical transmitter of coliform bacteria and E. coli to humans. These findings in this study suggested that larvae of house flies could be used for biodegradation of fishery waste. Citronella laurel and pheasant pepper tree oil could be used for larval and adult M. domestica control, respectively, while clove oil was the most efficacy to control adult S. indicus. Muscid flies in local market of Hat Yai District, Songkhla Province were contaminated with E. coli despite having no differentiating bacterial species.
Abstract(Thai): แมลงวันบ้าน, Musca domestica L. (Diptera: Muscidae) เป็นแมลงศัตรูสำคัญที่มีแหล่งที่อยู่อาศัยใกล้ชิดกับมนุษย์และเป็นแมลงที่มีความสำคัญทางการแพทย์ โดยเป็นพาหะนำโรคเชิงกล (mechanical vectors) ด้วยการนำเชื้อโรคติดไปกับส่วนต่างๆของร่างกายจากพื้นที่ไม่ถูกสุขอนามัยไปปนเปื้อนบนอาหารของมนุษย์และสัตว์เมื่อแมลงวันลงตอม จุดประสงค์ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ 1) เปรียบเทียบน้ำหนัก และองค์ประกอบทางโภชนะของหนอนแมลงวันหลังจากเลี้ยงด้วยอาหาร 3 ชนิดภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการ 2) ระบุประสิทธิภาพ และความเข้มข้นของน้ำมันหอมระเหยของสมุนไพรพื้นบ้านที่เหมาะสมในการกำจัดระยะหนอนและระยะตัวเต็มวัยของ M. domestica สายพันธุ์ห้องปฏิบัติการ และระยะตัวเต็มวัย Stomoxys indicus (Picard) ของพื้นที่ฟาร์ม 3) สำรวจแบคทีเรียก่อโรค Escherichia coli ที่ติดแมลงวันตอมสิ่งปฏิกูลจากตลาดท้องถิ่นของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สำหรับจุดประสงค์ในการวิจัยแรก ได้ทำการทดลองโดยออกแบบการทดลองเป็นแบบสุ่มสมบูรณ์เพื่อเปรียบเทียบหนอนที่เลี้ยงในอาหารที่ 1ของเสียจากการประมง - กระดูกหัวของปลากะพงขาว, Lates calcarifer (Bloch) และอาหารที่ 2 อาหารแมวแบบเปียกกับอาหารมาตรฐานของ M. Domestica เป็นตัวควบคุมเชิงบวก สำหรับอาหารแต่ละชนิดทำซ้ำ 10 ซ้ำ หลังจากผ่านไป 5 วัน ของอาหารในแต่ละซ้ำทำการสุ่มเลือกหนอนระยะที่ 3 จำนวน 10 ตัวเพื่อการชั่งน้ำหนัก และสุ่มตัวหนอน 150 ตัว นำไปวิเคราะห์องค์ประกอบทางโภชนะ และเปรียบเทียบข้อมูลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน One-way ANOVA กับ post-hoc Tukey HSD (Honestly Significant Difference) พบว่า น้ำหนักเฉลี่ยของของหนอนที่เลี้ยงในอาหารที่ 1 (0.41 กรัม/ตัวหนอน) สูงกว่าอาหารที่ 2 (0.247 กรัม/ตัวหนอน) และอาหารมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญ (0.253 ก./ตัวหนอน) นอกจากนี้ เปอร์เซ็นต์ไขมันหยาบของตัวหนอนในอาหารที่ 1 มีค่าสูงอย่างมีนัยสำคัญไม่แตกต่างกับตัวหนอนในอาหารมาตรฐาน แนะนำได้ว่าอาหารที่ 1 เป็นตัวเลือกเพิ่มเติมของอาหารเลี้ยงหนอน M. domestica วัตถุประสงค์ที่สอง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความเข้มข้นในฤทธิ์ฆ่าแมลงของน้ำมันหอมระเหยพื้นบ้านของไทย (กานพลู (Syzygium aromaticum (L.) Merr. & Perry), เทพทาโร (Cinnamomum porrectum Kosterm) และตะไคร้ต้น (Litsea cubeba Pers)) ต่อระยะหนอน และระยะตัวเต็มวัยของแมลงวันบ้าน M. domestica และระยะตัวเต็มวัยของแมลงวันคอกสัตว์ (Stomoxys indicus) ที่จับจากธรรมชาติ ทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดระยะหนอนด้วย Dipping assays และทดสอบแมลงวันทั้งสองชนิดในระยะตัวเต็มวัยด้วยกรวยทดสอบ World Health Organization cone bioassay) ใช้เพื่อ ใช้สาร Cypermethrin เป็นชุดควบคุมเชิงบวกและเอทิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลายและใช้เป็นตัวควบคุมเชิงลบ ผลการทดลองพบว่าระยะหนอนของแมลงวันบ้าน (M. domestica) พบว่าน้ำมันหอมระเหยทั้ง 3 ชนิดที่ความเข้มข้น 10%v/v ให้เปอร์เซ็นต์การสลบ (KD) และอัตราการตายสูง ความเข้มข้นต่ำสุดของเทพทาโรที่ 6.134%v/v มีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนแมลงวันบ้านมากที่สุด สำหรับประสิทธิภาพการกำจัดระยะตัวเต็มวัยของ M. domestica คะไคร้ต้นที่ความเข้มข้น 5% v/v ให้เปอร์เซ็นต์การสลบ 100% อัตราการตาย 93.33% และค่า LC50 ที่ 3.82% สำหรับประสิทธิภาพการกำจัดตัวเต็มวัยของ S. indicus พบว่าน้ำมันกานพลูให้ค่า LC50 สูงสุดที่ 0.284% การสำรวจแบคทีเรียก่อโรค E. coli ที่ติดบริเวณลำตัวของแมลงวันต่อสิ่งปฏิกูลจากตลาดในท้องถิ่นของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่าแมลงวัน M. domestica, M. autumnalis และ M. crassirostris ซึ่งเป็นแมลงวันในวงศ์ Muscidae ให้ผลการทดสอบ E. coli เป็นบวก ดังนั้น การศึกษานี้จึงสรุปได้ว่าแมลงวันมีความสามารถในการเป็นพาหะนำโรคเชิงกลของเชื้อ E. coli เข้าสู่มนุษย์ได้ การค้นพบนี้ในการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าระยะตัวหนอนของแมลงวันบ้านสามารถนำมาใช้ในการย่อยสลายขยะทางชีวภาพที่เกิดจากการทำประมงได้ น้ำมันจากเทพทาโรและน้ำมันจากตะไคร้ต้นสามารถใช้ในการควบคุมตัวหนอนและตัวเต็มวัย M. domestica ตามลำดับ ในขณะที่น้ำมันกานพลูมีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมตัวเต็มวัยแมลงวันคอกสัตว์ S. indicus แมลงวันต่อมสิ่งปฏิกูลในตลาดท้องถิ่นของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบการปนเปื้อนเชื้อ E. coli แม้จะยังไม่มีการแยกสายพันธุ์ของแบคทีเรีย
Description: Thesis (M.Sc., Entomology)--Prince of Songkla University, 2022
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17859
Appears in Collections:535 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6110620024.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons