กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17838
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีต่อประสิทธิภาพการนำเสนอข้อมูลด้วยรูปแบบจินตทัศน์: กรณีศึกษาข้อมูลการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานตามแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-2)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Impact of Technology Acceptance Model on Data Visualization Effectiveness Profile: The Case of Financial Statement Analysis of the Annual Disclosure (Form 56-2)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรชนก ช่องสมบัติ
นัดดาพร ชัยพล
Faculty of Commerce and Management
คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ
คำสำคัญ: ข้อมูลจินตทัศน์ การยอมรับเทคโนโลยี;นวัตกรรมทางธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2021
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objective of this research were (1) to develop a form of data analysis presentation of financial status and business performance according to annual reports (Form 56-2) with a data visualization that enhances the efficiency in data presentation, (2) to study demographic factors and technological acceptance of investors and corporate executives, and (3) to study the influence of demographic factors and technological acceptance of investors or corporate executives on the efficiency of data presentation, financial status analysis, and performance in the Annual Report Form (Form 56-2) with data visualization. Later a model for presenting information with data visualization was developed by the Design Science Research (DSR) process in order to obtain a data visualization model. This study is quantitative research. The sample used in this research was a group of 336 investors or executives using an online questionnaire as a tool for data collection. The statistics used in data analysis were multiple regression. The results of the study found that (1) demographic factors had no influence on the efficiency of the data visualization usage, (2) technological acceptance on the perception of benefits and usage easement had a statistically significant influence on the efficiency of the data visualization and (3) All variables were able to together predict the efficiency of data visualization usage by 71.90%. The result of this study was to be used as a guideline for the improvement and development of the presentation model in the Annual Report (Form 56-2). Furthermore, it was the new knowledge of technological acceptance with data visualization that was used for financial status analysis and business performance in the Annual Report (Form 56-2).
Abstract(Thai): การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบของการนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานตามแบบแสดงรายงานประจำปี (แบบ 56-2) ในรูปแบบจินตทัศน์ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูล (2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และการยอมรับเทคโนโลยีของนักลงทุนและผู้บริหารองค์กร และ(3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัย ด้านประชากรศาสตร์และการยอมรับเทคโนโลยีของนักลงทุนหรือผู้บริหารองค์กรต่อประสิทธิภาพการนำเสนอข้อมูลการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานตามแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-2) ด้วยรูปแบบจินตทัศน์ จากนั้นได้พัฒนารูปแบบการนำเสนอข้อมูลด้วยรูปแบบจินตทัศน์ปรับปรุงตามกระบวนการ Design Science Research (DSR) เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวแบบจินตทัศน์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ กลุ่มนักลงทุนหรือกลุ่มผู้บริหาร จำนวน 336 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ไม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการใช้งานข้อมูลจินตทัศน์ (2) การยอมรับเทคโนโลยี ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ และด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการใช้งานข้อมูลจินตทัศน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ตัวแปรอิสระทุกตัวสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิภาพการใช้งานข้อมูลจินตทัศน์ได้ร้อยละ 71.90 ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง การปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการนำเสนอข้อมูลในแบบรายงานประจำปี แบบ 56-2 และเป็นองค์ความรู้ใหม่เพิ่มเติมเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยี ด้านข้อมูลจินตทัศน์เกี่ยวกับการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานตามแบบรายงานประจำปี (แบบ 56-2)
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ), 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17838
ISSN: 3920100184797
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:942 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6250121007.pdf5.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons