Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17834
Title: การพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค
Other Titles: Development of Measurement Scale on Critical Thinking Skills in the 21st Century for Lower Secondary School Students by Applying Polytomous Item Response Theory
Authors: ชิดชนก เชิงเชาว์
ศักดริน บินหรีม
Faculty of Education (Measurement and Educational Research)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา
Keywords: ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ;การตรวจการให้คะแนนแบบพหุวิภาค;การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน;การวัดผลทางการศึกษา ข้อสอบ;การประเมินศักยภาพนักเรียน;การเรียนรู้แบบพินิจพิเคราะห์
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The purpose of this research were 1) to construct of measurement scale on critical thinking skills of the 21st century for lower secondary school students and 2) to examine the quality of measurement scale on critical thinking skills of the 21st century for lower secondary school students by applying polytomous Item response theory. The sample were 600 students selected by stratified random sampling technique. The students selected were studying in lower secondary school under the jurisdiction of the secondary education office service area 15. The measurement scale designed the situational test as a four-multiple choice was performed via the Classical Test Theory (CTT) by content validity, concurrent validity, construct validity with accomplished by confirmatory factor analysis (CFA), discrimination and reliability with Cronbach's alpha coefficient. Moreover, the parameter testing was accomplished by Polytomous (IRT), with discriminant and difficulty, and test information (TIF) was conducted via Grade Response Model (GRM). The findings were as follows: 1. The measurement scale on critical thinking skills of the 21st century for lower secondary school students composed five components with has 36 items including 1) defining skills 2) data gathering skills 3) analyze skills 4) synthetic skills and 5) evaluate skills. The content validity of the scale range from 0.80 to 1.00, analysis of discriminatory with t-test, 36 items that passed the selection criteria were obtained and the reliability was 0.911 2. The quality measurement scale by the concurrent validity with analysis the correlation coefficient between the skills test results and students’ GPA show that the skills test results correlate with students’ GPA were significantly at the level of 0.01, with a high level of correlate and the construct validity of the measurement scale using confirmatory factor analysis (CFA) consisted of five factors: defining skills, data gathering skills, analyze skills, synthetic skills and evaluate skills. Also the model fitted to the empirical data indicated by Chi-square= 5.67, df = 5, P-value = 0.33944 , RMSEA = 0.037, RMR = 0.045, CFI = 1.00, GFI = 0.98 and the weight of standard factor was between 0.57 to 0.84 when examining the quality of the measurement based on the Polytomous IRT. The slope parameter (α) is between 0.06 to 1.72 and the difficulty value the threshold value of each item (β) which all of the values in ascending items and the reliability of the measurement scale using Marginal Maximum-Likelihood (MML) showed that reliability of the test was 0.885. Moreover, the value of test information of item of measurement scale indicated was able to accurately and precise analyze in students among competent whose competency θ was between -2.0 to +0.5 or the students of low to medium competency levels.
Abstract(Thai): การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) ตรวจสอบคุณภาพแบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 จังหวัดปัตตานี จำนวน 600 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีรูปแบบเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ได้ตรวจสอบคุณภาพโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CTT) โดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ความตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) ความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) อำนาจจำแนก (Discrimination) และความเที่ยง (Reliability) ด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และตรวจสอบคุณภาพโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค (Polytomous IRT) ด้วย Grade response model (GRM) ในการตรวจสอบพารามิเตอร์ของแบบวัด ได้แก่ อำนาจจำแนก (α) ความยาก (β) และสารสนเทศของแบบวัด (TIF) ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีข้อคำถาม จำนวน 36 ข้อ จำแนกเป็น 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ทักษะการนิยามปัญหา ทักษะการรวบรวมข้อมูล ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการสังเคราะห์ และทักษะการประเมิน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ทุกข้อมีค่าเท่ากับ 0.80 – 1.00 วิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก ด้วยวิธีการทดสอบค่าที t-test ได้ข้อคำถาม ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจำนวน 36 ข้อ และมีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.911 2. คุณภาพของแบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยวิธีการตรวจสอบความตรงตามสภาพ โดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างผลการวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 กับผลการเรียนสะสมเฉลี่ย (GPA) พบว่า ผลการวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับผลการเรียนสะสมเฉลี่ย (GPA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ ทักษะการนิยามปัญหา ทักษะการรวบรวมข้อมูล ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการสังเคราะห์ และทักษะการประเมิน โมเดลการวัดขององค์ประกอบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 มีความเหมาะสมสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน ประกอบด้วย Chi-square= 5.67, df = 5, P-value = 0.33944, RMSEA = 0.037, RMR = 0.045, CFI = 1.00, GFI = 0.98 แต่ละองค์ประกอบหลักมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.57 – 0.84 และเมื่อทำการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค (Polytomous IRT) พบว่า ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (α) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.06 ถึง 1.72 ค่าความยาก (β) ของแต่ละรายการคำตอบมีค่าเรียงลำดับจากน้อยไปมากทุกข้อ และการประมาณค่าความเที่ยง โดยวิธี Marginal Maximum-Likelihood (MML) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.885 สำหรับค่าฟังก์ชันสารสนเทศของการวิเคราะห์ข้อคำถามของแบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 สามารถวิเคราะห์ข้อคำถามได้ถูกต้องแม่นยำในกลุ่มของผู้สอบที่มีความสามารถ θ อยู่ในช่วงระหว่าง -2.5 ถึง +0.5 หรือกลุ่มผู้สอบที่มีความสามารถต่ำถึงปานกลาง
Description: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยและประเมินผลการศึกษา), 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17834
Appears in Collections:276 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6320120255.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons