กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17684
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A Model of STEM Education Management of STEM Network Schools of Secondary Schools in Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เอกรินทร์ สังข์ทอง สุดารัตน์ พรหมแก้ว Faculty of Education (Educational Administration) คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา |
คำสำคัญ: | การบริหารจัดการสะเต็มศึกษา;โรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา;โรงเรียนมัธยมศึกษา;ประเทศไทย;การศึกษาขั้นมัธยม;การศึกษาและการสอนเทคโนโลยี;การศึกษาและการสอนวิทยาศาสตร์;การศึกษาและการสอนวิศวกรรมศาสตร์;การศึกษาและการสอนคณิตศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2021 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | This mixed-methods research was the exploratory sequential design which its objectives aimed to 1) investigate the stage of STEM education management of STEM network schools of secondary schools in Thailand, 2) examine the components of STEM education management of STEM network schools of secondary schools in Thailand, and 3) propose a model of STEM education management of STEM networks of secondary schools in Thailand. The research consisted of two phases including. Phase I: which comprised of two procedures: 1) in-depth interviews with school administrators and teachers by 52 experts, and 2) component analysis through Delphi techniques by 17 experts. Phase II: which comprised of three procedures: 1) drafting a model and manual of STEM education management, 2) focus group study with 7 experts, and 3) evaluation of model appropriation, its manual and feasibility by 94 experts in the related fields. The study revealed as follows: 1. Overall, the stages of STEM education management of STEM network schools of secondary schools in Thailand covered 5 aspects including 1) Driving STEM education management of school administrators which operated through policies and supporting mechanism, 2) teacher development, 3) Learning management by integrating related substances, learning activities management and STEM camp, 4) Supervision by school personnel and outsiders, and 5) Network engagement. 2. STEM education management of STEM network of secondary schools in Thailand included 6 main components, 5 sub-components, 34 indicators, for instance, Component 1: Driving STEM education management of school administrators consisted of 2 sub-components and 9 indicators, Component 2: STEM education teacher development included 4 indicators, Component 3: Institutional curriculum development included 4 indicators, Component 4: Learning management of STEM education included 3 sub-components and 7 indicators, |
Abstract(Thai): | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมวิธีแบบการออกแบบต่อเนื่องเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย 2) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย และ 3) เสนอรูปแบบ การบริหารจัดการสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย ผู้วิจัยดำเนินการวิจัย 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 มี 2 ขั้นตอน คือ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารและครูโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา จำนวน 52 คน 2) วิเคราะห์องค์ประกอบโดยใช้เทคนิคเดลฟาย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน ระยะที่ 2 มี 3 ขั้นตอน คือ 1) ร่างรูปแบบและคู่มือการบริหารจัดการสะเต็มศึกษา 2) สนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบและคู่มือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 94 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) การขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาของผู้บริหาร ด้านนโยบาย และด้านการสนับสนุน 2) การพัฒนาครู 3) การจัดการเรียนการสอน โดยการบูรณาการในรายวิชา การจัดกิจกรรมชุมนุม และการจัดค่ายสะเต็ม 4) การนิเทศโดยบุคลากรในโรงเรียน และบุคลากรภายนอก และ 5) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 2. องค์ประกอบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 5 องค์ประกอบย่อย34 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาของผู้บริหาร มี 2 องค์ประกอบย่อย 9 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาครูด้านสะเต็มศึกษา มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 การพัฒนา หลักสูตรสถานศึกษา มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษามี 3 องค์ประกอบย่อย 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย มี 8 ตัวบ่งชี้และองค์ประกอบที่ 6 การนิเทศแบบร่วมพัฒนา มี 2 ตัวบ่งชี้ 3. รูปแบบและคู่มือการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก |
รายละเอียด: | ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต(การบริหารการศึกษา), 2564 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17684 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 260 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
5820130002.pdf | 4.88 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License