Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17636
Title: โครงการ เซนเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าสำหรับตรวจวัดไนเตรตโดยการดัดแปลงขั้วไฟฟ้าสกรีนพรินต์ด้วยนาโนคอมโพสิทของคาร์บอนรูพรุนที่เรียงตัวเป็นระเบียบกับอนุภาคนาโนทองแดง
Other Titles: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ เซนเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าสำหรับตรวจวัดไนเตรตโดยการดัดแปลงขั้วไฟฟ้าสกรีนพรินต์ด้วยนาโนคอมโพสิทของคาร์บอนรูพรุนที่เรียงตัวเป็นระเบียบกับอนุภาคนาโนทองแดง
Electrochemical sensor for nitrate detection based on ordered mesoporous carbon-copper (OMC-Cu) nanocomposite modified screen printed electrode
Authors: อาภรณ์ นุ่มน่วม
Faculty of Science (Chemistry)
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเคมี
Keywords: เซนเซอร์ทางเคมีไฟฟ้า;เคมีไฟฟ้า
Issue Date: 2562
Abstract: Electrochemical sensor for nitrate detection was developed based on copper nanofoam (Cu foam) and ordered mesoporous carbon (OMC) modified screen printed carbon electrode (SPCE)y. This Cu foam/OMC/SPCE was used for nitrated detection by using amperometric system. Nitrate was determined at applied potential of -0.625 V in flow injection system based on the reduction current of nitrate that electrocatalyzed by modified Cu foam. Under optimum conditions, the fabricated nitrate sensor provide the linear range from 0.001-5.0 mM with limit of detection (S/N ≥ 3) of 1.0 uM. The amperometric nitrate sensor demonstrated high operation stability up to 150 times. In the presence of the common interference, Mg2+, CO32-, Fe2+, Fe3+, Cland SO42-, in water, have negligible effect on the performance of this developed sensor. When applied to analyze nitrate in water samples, the % recovery are in the range of 95-110 %.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้พัฒนาเซนเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าโดยการปรับปรุงผิวขั้วไฟฟ้าสกรีนพรินต์แบบคาร์บอนด้วยคาร์บอนรูพรุนระดับเมโซที่จัดเรียงตัวเป็นระเบียบร่วมกับทองแดงนาโนโฟม เพื่อใช้ในการตรวจวัดไนเตรทด้วยเทคนิคแอมเพอโรเมทรีร่วมกับระบบไหลผ่าน โดยตรวจวัดสัญญาณปฏิกิริยารีดักชันของไนเตรทโดยให้ศักย์ไฟฟ้าที่ป้อนในระบบ -0.625โวลต์ ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมเทคนิคนี้ให้ช่วงความเป็นเส้นตรงระหว่าง 0.001-5.0 มิลลิโมลาร์ และขีดจำกัดของการตรวจวัดคือ 1 ไมโครโมลาร์ ขั้วไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นสามารถตรวจวัดไนเตรทได้ถึง 150 ครั้ง โดยไม่มีสัญญาณรบกวนเมื่อมีการทดสอบผลของตัวรบกวนที่มีอยู่ในตัวอย่างน้ำ เช่น แมกนีเซียมไอออน (Mg2+) คาร์บอเนตไอออน (CO3 plus 2-) เหล็ก (II) เหล็ก (III) คลอไรด์ไอออน (Cl-) และ ซัลเฟตไอออน (SO4 plus 2-) เมื่อวิเคราะห์ความเข้มข้นของไนเตรทในตัวอย่างน้ำ ให้ร้อยละการได้กลับคืนเท่ากับ 95-110 %
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17636
https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/305203
Appears in Collections:324 Research

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.