กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17631
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors Related to Motivation in Performance for Small and Micro Community Enterprise Promotion of Agricultural Extension Officers in the Southern Region of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พิไลวรรณ ประพฤติ ญานิกา เกื้อตุ้ง Faculty of Natural Resources (Agricultural Development) คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาพัฒนาการเกษตร |
คำสำคัญ: | agricultural extension officer;southern Thailand;motivation;การส่งเสริมการเกษตร;วิสาหกิจชุมชน |
วันที่เผยแพร่: | 2021 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The objectives of this study were to 1) examine the demographic data of agricultural extension officers performing with the Small and Micro Community Enterprise (SMCE) promotion in southern regions of Thailand, 2) examine the performance of SMCE promotion of agricultural extension officers in southern regions of Thailand, 3) examine the motivation of performance of SMCE of agricultural extension officers in southern regions of Thailand, and 4) analyze factors related with motivation level of performance of SMCE promotion of agricultural extension officers in southern regions of Thailand. A structured questionnaire was used for data collection. A group of a population composed of 1 agricultural extension officer/district for the total of those from 111 districts which covered the whole provinces in the southern regions. Statistics used for data analysis were descriptive statistics and the chi-square test. Results of this study revealed that most of the agricultural extension officers performing with SMCE promotion in southern regions of Thailand were male (82.9%) with an average age of 40 years old, were Buddhists (75.7%), took a position as agricultural extension officer at practitioner level (53.2%), and had experiences with SMCE promotion for an average at 4 years 1 month. For the performance with SMCE promotion in the southern regions, the study found that most agricultural extension officers (91.9%) performed with basic information of SMCE which the second most was transferring knowledge and technology (91.0%). For coordination with related organization units, the study indicated that agricultural extension officers (80.2%) performed this job. For motivation of performance of SMCE promotion of agricultural extension officers, the study found that the overall of motivation was rated at a high level (µ = 3.89) which those rated at high motivation levels were responsibility (µ = 4.12), policy and management (µ = 4.04), and recognition and job security (µ = 4.03), respectively For motivation rated at moderate level was working environment (µ = 3.37). For factors that had a relationship with motivation level of performance of SMCE promotion, the study indicated that government serving time and holding position level had relationships with motivation level for the performance of SMCE promotion of agricultural extension officers with statistical significance at 0.05. This study suggested that 1) there should have knowledge management in working units of district agricultural extensions to let agricultural extension officers perform SMCE promotion be able to replace job performance among each other, 2) agricultural extension officers should integrate SMCE promotion with the private sector or business sector to develop the potential of SMCE group for another performance option, 3) agricultural extension officers who have government serving time more than 1 - 5 years should have the responsibility of SMCE promotion. This should be urged their determination to build contributions, and 4) agricultural extension officers who hold position at practitioner level should have responsibility with community business promotion This should be urged for submitting higher position. |
Abstract(Thai): | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่ปฏิบัติงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย และ 4) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับแรงจูงใจ การปฏิบัติงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเชิงโครงสร้างกับประชากรคือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบงานวิสาหกิจชุมชน อำเภอละ 1 ราย จำนวน 111 อำเภอ ครอบคลุมทุกจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบไค-สแควร์ ผลการศึกษา พบว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่มีการปฏิบัติงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 82.9 อายุเฉลี่ย 40 ปี นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 75.7 ดำรงตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับปฏิบัติการ ร้อยละ 53.2 มีประสบการณ์การทำงานด้านการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 4 ปี 1 เดือน การปฏิบัติงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ พบว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่ ร้อยละ 91.9 มีการปฏิบัติงานด้านการจัดทำข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี ร้อยละ 91.0 ส่วนงานด้านการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่ามีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจำนวนน้อยที่ปฏิบัติงานนี้ ร้อยละ 80.2 ส่วนแรงจูงใจในการปฏิบัติงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร พบว่า มีความคิดเห็นของแรงจูงใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.89) โดยแรงจูงใจในระดับมาก ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ (µ = 4.12) ด้านนโยบายและการบริหารงาน (µ = 4.04) และมีความคิดเห็นของแรงจูงใจเฉลี่ยเท่ากันในด้านการได้รับการยอมรับนับถือและด้านความมั่นคงในงาน (µ = 4.03) ตามลำดับ ส่วนแรงจูงใจในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน (µ = 3.37) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พบว่า อายุการทำงาน และระดับของตำแหน่งที่ดำรงอยู่ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) การสนับสนุนให้มีการจัดการความรู้ในหน่วยงานเกษตรอำเภอ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนแทนกันได้ 2) การสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรบูรณาการงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนร่วมกับภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจ เพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอีกช่องทางหนึ่ง 3) การสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่มีอายุงาน 1 - 5 ปี ขึ้นไป รับผิดชอบงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเพื่อกระตุ้นความมุ่งมั่นในการสร้างผลงาน และ 4) การสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการรับผิดชอบงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเพื่อกระตุ้นการยื่นขอตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ |
รายละเอียด: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาการเกษตร), 2564 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17631 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 520 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
6210620022.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License