กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17607
ชื่อเรื่อง: | โครงการ พลวัตความเคลื่อนไหวของนักการเมืองมลายูมุสลิมท่ามกลางความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ พลวัตความเคลื่อนไหวของนักการเมืองมลายูมุสลิมท่ามกลางความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อิมรอน ซาเหาะ ยาสมิน ซัตตาร์ สุไรยา วานิ สถาบันสันติศึกษา Institute for Peace Studies สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ Faculty of Political Science คณะรัฐศาสตร์ สมาคมสะพานปัญญาชายแดนใต้ |
คำสำคัญ: | นักการเมือง ไทย (ภาคใต้) |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract(Thai): | งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง "พลวัตการเคลื่อนไหวของนักการเมืองมลายูมุสลิมท่ามกลางความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้" ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) คำถามวิจัยของงานชิ้นนี้ต้องการมุ่งเน้นถึงการมองบนฐานข้อมูลที่ปรากฎให้เห็นถึงการปรับตัวอย่างเห็นได้ชัดของนักการเมืองมลายูมุสลิมในช่วง หลังจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเป็นต้นมา ตลอดจนคำถามที่ว่าการต่อสู้ทางการเมืองในระบอบรัฐสภายังคงมีความหวังในการเป็นทางเลือกหนึ่งในการต่อรองทางการเมืองหรือการเรียกร้องสิทธิของชาวมลายูมุสลิมในพื้นที่ชายแดนใต้ได้อีกหรือไม่ และมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและรูปแบบการเคลื่อนไหวของนักการเมืองมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ ตลอดจนพลวัตการ เคลื่อนไหวของกลุ่มนักการเมืองมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ไนบริบททางการเมืองที่ปรับเปลี่ยน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน และเพื่อเสนอแนะต่อนักการเมือง มลายูมุสลิมและรัฐในการร่วมพัฒนาพื้นที่การเมืองที่สนับสนุนการสร้างสันติภาพในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยงานชิ้นนี้วางอยู่บนฐานแนวคิดสำคัญคือการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ ผลการวิจัย พบว่า พลวัตการขับเคลื่อนของนักการเมืองมลายูมุสลิมในพื้นที่ชายแดนใต้ นับตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ. 2547 สามารถแบ่งเป็นสามช่วงเวลาหลัก คือ ก่อนปีพ.ศ. 2547 หลังการเลือกตั้ง ปีพ.ศ. 2548-2561 และ ในช่วงการเลือกตั้งปีพ.ศ. 2562 แต่ละช่วงมีข้อน่าสังเกตคือก่อนปีพ.ศ. 2547 เป็นการต่อสู้ในพื้นที่ทางการเมืองของเชื้อสายเจ้าเมืองและผู้รู้ศาสนา มีนักการเมืองที่ผิดหวังกับระบบรัฐสภาและออกไปสนับสนุนกลุ่มขบวนการติดอาวุธ และในช่วงนี้ยังเกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มวาดะห์ซึ่งรวมกลุ่มเพื่อสร้างเสียงต่อรองของนักการเมืองในพื้นที่ชายแดนใต้ หลังจากปีพ.ศ. 2547 เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ความพ่ายแพ้ของกลุ่มวาดะห์และการขึ้นมาของนักการเมืองหน้าใหม่หลายท่าน และต่อมาในการเลือกตั้งปีพ.ศ. 2562 ก็ได้เห็นพัฒนาการสำคัญของการก่อตั้งพรรคประชาชาติซึ่งได้กลายเป็นพรรคที่เห็นนัยยะเชิงอัตลักษณ์ของความเป็นมลายูมุสลิมอย่างชัดเจน การศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าระบบรัฐสภายังคงเป็นความหวังสำหรับการขับเคลื่อน เพื่อสร้างพื้นที่ต่อรองทางการเมือง โดยที่พื้นที่ทางการเมืองนั้นจะเป็นพื้นที่ที่ช่วยให้อัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมหรือความเป็นมลายูสามารถมีที่ทาง จนกระทั่งสามารถลดเงื่อนไขที่นำไปสู่ความรุนแรงได้ แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่ทางการเมืองแบบนี้ จำเป็นต้องเป็นพื้นที่ที่ประยุกต์ใช้หลักการประชาธิปไตยอย่างแท้จริง มิใช่เป็นประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ ซึ่งอาจทำให้พื้นที่ทางการเมืองถูกปิดกั้นและหันไปสู่การใช้ความรุนแรงได้ |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17607 https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/309153 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 196 Research 9506 Research |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น