กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17572
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาถังปฏิกรณ์ชนิดแยกกลีเซอรอลอย่างต่อเนื่อง เพื่อการผลิตเอทิลเอสเตอร์เชิงอุตสาหกรรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: รายงานการวิจัยการพัฒนาถังปฏิกรณ์ชนิดแยกกลีเซอรอลอย่างต่อเนื่อง เพื่อการผลิตเอทิลเอสเตอร์เชิงอุตสาหกรรม
Development of Continuous Deglycerolization for Commercial Ethly Ester Product
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชาคริต ทองอุไร
สัณห์ชัย กลิ่นพิกุล
เสกสรร สุธรรมานนท์
ธเนศ วัยสุวรรณ
กิตติภูมิ ศุภลักษณ์ปัญญา
อุทัย ไทยเจริญ
Faculty of Engineering Chemical Engineering
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
Scientific Equipment Center
ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Faculty of Engineering (Industrial Engineering)
คำสำคัญ: ปาล์มน้ำมัน;เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: Design and construction of Continuous Deglycerolization reactor for a transesterification process was investigated. A pilot CD reactor of 40 litre was fabricated for the first transesterification reaction while the second reactor was CSTR and this set of equipment can produce ethyl ester more than 60 litre/hour. Three feedstocks were used in this experiment, namely, refined palm oil, waste cooking oil and esterified palm oil. The 2 important operating parameters, molar ratio of ethanol to oil (5.5-7.0) and the amount of KOCH3 catalyst (0.6-1.4 %wt) were studied. The temperature of the reaction was kept constant at 60 degree Celsius and the retention time was 20-30 minute. All of the feedstocks could be produced to a high quality of ethyl ester biodiesel having ester content higher than 96.5%. The yields of 3 feedstocks are in a narrow range of 94.5-96.0%. An economic feasibility was also investigated; the waste cooking oil feedstock gave the highest return of investment (ROI). Esterified palm oil is also an attractive feedstock but refined palm oil has a negative result from the today market price. This set of equipment also could be used to produce methyl ester.
Abstract(Thai): การออกแบบและจัดสร้างถังปฏิกรณ์ทำปฏิกิริยาทรานส์เอสเตอริฟิเคชันและแยกกลีเซอรอลออกอย่างต่อเนื่องได้ถูกศึกษาและจัดสร้างต้นแบบในขนาดถังปฏิกรณ์ปริมาตรภายในมากกว่า 40 ลิตร สามารถผลิตเอทิลเอสเตอร์ได้มากกว่า 60 ลิตรต่อชั่วโมง ซึ่งใช้ในการทำปฏิกิริยาทรานส์เอสเตอร์ฟิเคชัน ครั้งที่ 1 โดยการทำปฏิกิริยาทรานส์เอสเตอริฟิเคชัน ครั้งที่ 2 สามารถใช้ถังปฏิกรณ์แบบกวนต่อเนื่องธรรมดาได้ การผลิตเอทิลเอสเตอร์จากสารป้อนเริ่มต้น 3 ชนิด คือ น้ำมันปาล์มรีไฟน์ น้ำมันทอดใช้แล้ว และน้ำมันปาล์มเอสเตอริไฟน์ แบบต่อเนื่องได้เน้นศึกษาตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญเพียง 2 ค่า คือ ปริมาณเอทานอลที่ใช้ในช่วง 5.5-7.0 โมลต่อโมลสารป้อนน้ำมันเริ่มต้น และตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดโพแทสเซียมเมทอกไซด์ในช่วง 0.6-1.4 % โดยน้ำหนักของสารป้อน ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เวลาในการกักเก็บ 20-30 นาที ซึ่งสามารถผลิตไบโอดีเซลชนิดเอสเตอร์ ที่มีปริมาณของเอทิลเอสเตอร์สูงกว่า 96.5 % ได้หลายสภาวะ โดยมีค่าผลได้อยู่ในช่วง 94.5-96.0 % การศึกษาเชิงเศรษฐศาสตร์พบว่า สารป้อนจากน้ำมันทอดใช้แล้วมีความคุ้มทุนมากที่สุด สารป้อนจากน้ำมันปาล์มที่ผ่านกระบวนการเอสเตอริฟิเคชันมีความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ แต่สารป้อนจากน้ำมันปาล์มรีไฟน์ไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์จากโครงสร้างราคาวัตถุดิบในปัจจุบัน โดยอุปกรณ์ชุดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการผลิตเมทิลเอสเตอร์ได้
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17572
https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/275212
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:000 Article in Scopus
228 Research
230 Research

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น