กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17571
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์พันธุกรรมยางพันธุ์พื้นเมืองโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและการคัดเลือกต้นตอโดยใช้เทคนิคมินิไรโซตรอน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: รายงานฉบับสมบูรณ์การวิเคราะห์พันธุกรรมยางพันธุ์พื้นเมืองโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและการคัดเลือกต้นตอโดยใช้เทคนิคมินิไรโซตรอ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จรัสศรี นวลศรี
สายัณห์ สดุดี
อิบรอเฮม ยีดำ
Faculty of Natural Resources (Plant Science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาพืชศาสตร์
คำสำคัญ: ยางพารา พันธุศาสตร์;เครื่องหมายพันธุกรรม
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract(Thai): วัตถุประสงค์ของการทดลองคือ ศึกษาพันธุกรรมของยางพาราพันธุ์พื้นเมือง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของระบบรากและคัดเลือกต้นตอยางพาราที่ทนทานต่อโรครากขาว โดยเก็บเมล็ดยางพาราจากต้นพันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่จังหวัดสงขลา ตรัง สุราษฎร์ธานี และระนอง โดยมียางพาราพันธุ์ RRIM 600 GT1 และ PB 5/51 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ งานวิจัยแบ่งได้เป็น 3 งานทดลองย่อย ดังนี้ การทดลองชุดที่ 1: วิเคราะห์พันธุกรรมของต้นกล้ายางพาราพันธุ์พื้นเมือง จำนวน 19 โคลน โดยใช้เทคนิค RAPD และศึกษาการพัฒนาของระบบรากโดยวิธีไรโซตรอน ทำการย้ายต้นกล้ายางพาราที่อายุประมาณ 6 เดือนลงปลูกในไรโซบอคขนาด 40x100 ซม. วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด ทำ 4 ซ้ำ ๆ ละ 1 ต้น ผลการใช้เครื่องหมาย RAPD ด้วยไพรเมอร์ 7 ไพรเมอร์ ในการวิเคราะห์พันธุกรรม สามารถแยกกลุ่มยางพาราได้เป็น 2 กลุ่ม โดยมีค่าความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางพันธุกรรม 0.494-0.9647 จากการศึกษาการเจริญเติบโตของระบบราก พบว่า ส่วนใหญ่รากจะเจริญได้ดีที่สุดที่ระดับความลึก 20-0 ซม. จากระดับผิวดิน โดยต้นกล้ายางพาราพันธุ์พื้นเมืองจากสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ มีการเจริญได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับต้นกล้ายางพาราพันธุ์ RRIM 600 และอื่น ๆ การทดลองชุดที่ 2: ศึกษาเบื้องต้นในการทดสอบความทนทานต่อโรครากขาวของต้นกล้ายางพาราพันธุ์พื้นเมือง จำนวน 13 โคลนจากแหล่งต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลา โดยทำการปลูกเชื้อกับต้นกล้ายางพาราพันธุ์พื้นเมืองโดยมีพันธุ์ RRIM 600 และ GT1 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ บันทึกข้อมูลโดยให้คะแนนความรุนแรงของการเกิดโรคที่แสดงออกกับส่วนยอดเป็น 5 ระดับ ผลการทดลองพบว่า ต้นกล้ายางพาราพันธุ์ RRIM 600 และ GT1 มีความอ่อนแอต่อโรครากขาวมากที่สุด โดยต้นกล้ายางพาราจากสวนเกษตรกรบ้านน้ำน้อย จ.สงขลา (EIRnam) มีความทนทานต่อโรคมากกว่าโคลนอื่น ๆ การทดลองชุดที่ 3: การคัดเลือกต้นตอยางพาราที่ทนทานต่อโรครากขาว การทดลองนี้ใช้ต้นกล้ายางพาราจำนวน 10 โคลน ทดสอบร่วมกับต้นกล้าของพันธุ์ RRIM 600 และ GT1 ซึ่งใช้เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด ทำ 5 ซ้ำ ปลูกต้นกล้ายางพาราในไรโซบอคและศึกษาการเจริญเติบโตของต้นกล้ายางพาราในแต่ละกลุ่ม โดยการวัดความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางลำตันและจำนวนก้านใบต่อต้น ผลการทดลองพบว่า ต้นกล้ายางพารา 2 โคลนในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (EIRpsu6, EIRpsu8) และ 2 โคลนในจังหวัดตรัง (EIRsakra, EIRtr) มีความทนทานต่อโรครากขาว ดังนั้นจึงทดลองนำต้นกล้ายางพาราพันธุ์พื้นเมืองในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไปปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร จ.ชุมพร โดยพันธุ์ RRIM 600 และพันธุ์อ่อนแออีก 1 โคลน เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ในระยะ 7 เดือนหลักย้ายปลูก พบว่า ต้นกล้ายางพาราพันธุ์พื้นเมืองทั้งสองโคลนในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีเจริญเติบโตตามปกติไม่แสดงอาการของโรค ในขณะที่ต้นกล้าอ่อนแอเริ่มแสดงอาการของโรครากขาวแสดงให้เห็นศักยภาพของโคลนที่ทำการทดสอบ
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17571
https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/275072
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:510 Research

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น