Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17561
Title: | นิเวศวิทยาการกินอาหาร การเลือกกินอาหารและคุณค่าทางโภชนาการของอาหารปูแสมในพื้นที่ชายฝั่งของจังหวัดปัตตานี |
Other Titles: | Feeding Ecology, food Seiection and food Nutritional Value of Episesarma spp. in Patta Coastal Area |
Authors: | ซุกรี หะยีสาแม เยาวพา เพ็งสกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ Faculty of Science and Technology (Science programs) |
Keywords: | นิเวศวิทยาการ;ป่าชายเลน |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของแหล่งอาศัย ฤดูกาล เพศ และขนาตปูที่มีต่อการกินอาหารของปูแสมสามชนิด ประกอบด้วย ปูแสมก้ามม่วง (E. Imeder) ปูแสมก้ามขาว (E. versicolor) ปูแสมก้ามแดง (E. singaporense) ที่พบในแหล่งอาศัยธรรมชาติ ทดสอบการเลือกกินอาหารของปูแสมในสภาวะจำลองและประเมินคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่ปูแสมเลือกกิน ทั้งนี้แบ่งประเด็นที่ศึกษาออกเป็นสามส่วน ด้วยกัน คือ ส่วนที่ 1 ศึกษาอิทธิพลของแหล่งอาศัย เพศ ขนาด และฤดูกาลที่มีต่อการกินอาหารของปูแสมสามชนิดในแหล่งอาศัยธรรมชาติ โดยเก็บตัวอย่างปูทั้งสามชนิดทุกเดือนตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2561 ถึง เดือน มิถุนายน 2562 จากบริเวณป่าชายเลน 4 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย ป่าชายเลนยะหริ่ง ป่าชายเลนบางเขา ป่าชายเลนแคนา และป่าชายเลนรูสะมิแล สุ่มตัวอย่างปูมาเก็บรักษาสภาพ ซึ่งวัดขนาด ผ่าตัดกระเพาะอาหาร จำแนกชนิดและประเมินปริมาณอาหารที่พบในกระเพาะ ส่วนที่ 2 ศึกษาการเลือกกินอาหารของปูแสมในสภาวะจำลอง โดยนำปูแสมจากธรรมชาติมาทดลองในตู้กระจกในห้องปฏิบัติการควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมือนกันทั้งหมด ใส่อาหารชนิดต่างๆ ให้เลือกกิน ชั่งน้ำหนักอาหารก่อน และหลังจากให้ปูกิน ส่วนที่ 3 ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ โดยเลือกอาหารสี่ชนิดจากการทดลองส่วนที่ 2 นำไปวิเคราะห์หาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารดังกล่าว ข้อมูลทั้งหมดนำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า ปูแสมทั้งสามชนิดกินพืช ครัสเตเซียน ปลา สาหร่าย และหอยเป็นอาหารหลัก โดยในส่วนของปูก้ามม่วง พบว่า แหล่งอาศัยและเพศมีผลต่อค่าอาหารเต็มกระเพาะ (P<0.05) แหล่งอาศัยและฤดูกาลมีผลจำนวนชนิดของอาหารที่ปูกิน (P<0.05) ในปูก้ามขาว แหล่งอาศัยมีผลต่อค่าอาหารเต็มกระเพาะ (P<0.05) แหล่งอาศัย เพศ ขนาด และฤดูกาล มีผลต่อจำนวนชนิดของอาหาร (P<0.05) ในปูก้ามแดง แหล่งอาศัย และขนาดมีผลต่อค่าอาหารเต็มกระเพาะ (P<0.05) และแหล่งอาศัยมีผลต่อจำนวนชนิดของอาหาร (P<0.05) ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ multivariate analysis ยืนยันว่าแหล่งอาศัย เพศ ขนาด และฤดูกาล มีผลต่อองค์ประกอบของโครงสร้างทางอาหารของปูแสม ผลการวิเคราะห์การทับซ้อนของอาหาร (diet overlap) พบว่า ปูก้ามขาว และปูก้ามแดง กินอาหารที่เหมือนกันอย่างยิ่ง ในขณะที่ปูม่วงกินอาหารที่แตกต่างจากปูแสมทั้งสองชนิด ผลการศึกษาการเลือกกินอาหารของปูแสมในสภาวะจำลอง พบว่า ปูก้ามม่วงเลือกกินใบคุณส่งแสมทะเลมากที่สุด ปูก้ามขาวเลือกกินใบโกงกางใบใหญ่มากที่สุดและปูก้ามแดงเลือกกินใบถั่วขาวมากที่สุด ผลการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่ปูแสมเลือกกินพบว่า ใบแสมทะเลมีค่าโปรตีนสูงที่สุดร้อยละ 14.30 แต่มีไขมันน้อยที่สุดร้อยละ 2.81 ใบโกงกางใบเล็กและใบโกงกางใบใหญ่มีคาร์โบไฮเดตรสูงสุดร้อยละ 44.65 และ ร้อยละ 41.02 ตามลำดับ โดยที่ค่าเยื่อใยของใบไม้ทุกชนิดมีค่าใกล้เคียงกันร้อยละ 25.02 ถึง ร้อยละ 31.49 ดังนั้น ผลการศึกษาในครั้งนี้จะมีความสำคัญยิ่งสำหรับใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรปูแสม การเพาะเลี้ยงปูแสม และการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่เป็นแหล่งอาศัยของปูแสมในอนาคต |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(ฟิสิกส์ประยุกต์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17561 |
Appears in Collections: | 722 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1664.pdf | 2.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.