กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17558
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ทางการศึกษาของชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Affecting towards Changeing of Educational Worldview Among Thai Muslims in the 3 Southern Border Provinces
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาฟีฟี ลาเต๊ะ
สพวัง มาซา
Faculty of Education (Measurement and Educational Research)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา
คำสำคัญ: ไทยมุสลิม;สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ทางการศึกษาของชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ทางการศึกษาของชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การดำเนินการวิจัยแบบผสม โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบขั้นตอนเชิงสำรวจ ระยะแรก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูล ใช้วิธีการสัมภาษณ์ ระยะที่สอง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูสอนสายศาสนา ครูสอนสายสามัญ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มละ จำนวน 3 คน และกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 คน และตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 120 คน ครูสอนสายสามัญ จำนวน 331 คน ครูสอนสายศาสนา จำนวน 331 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 380 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 จำนวน 380 คนผลการวิจัยปรากฏว่า ชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีโลกทัศน์ต่อการเรียนสายสามัญว่าเป็นการได้รับโอกาสในการทำงาน การได้ความรู้เพื่อประกอบอาชีพ สู่การสร้างอนาคตที่ดีได้ ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเรียนสายศาสนาที่มีเป้าหมายหลักเพื่อปฏิบัติตนตามหลักศาสนา เข้าใจหลักคำสอนสู่การสร้างคนให้เป็นคนดี และพบปัจจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ทางการศึกษาของชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านศาสนา ปัจจัยด้านการเมือง ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านการเลียนแบบพฤติกรรม พบว่า ปัจจัยด้านศาสนาส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ทางการศึกษาทั้งกลุ่มภาพรวมและกลุ่มย่อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยด้านครอบครัวส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ทางการศึกษาในกลุ่มภาพรวม กลุ่มครูสอนสายศาสนา และกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 05 ส่วนปัจจัยด้านสังคมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ทางการศึกษาในกลุ่มภาพรวม กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และกลุ่มผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การวิจัยและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17558
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:276 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1660.pdf2.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น