กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17512
ชื่อเรื่อง: แรงจูงใจที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Motivation Affecting Happiness at Work of Operating Employee Krung Thai Bank Public Company, Hat Yai District Office, Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัฒนิจ โกญจนาท
ตวงใจ ธรรมมัควัน
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: ความสุข;การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2017
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This study aims to study personal factors, Motivation factors and supporting factors that affects the happiness in work. The sample consisted of 141 employees from Krung Thai Bank Public Company Limited, Hat Yai District, Songkhla Province. The collecting data methods were questionnaires. Statistics used for data analysis were frequency, percentages, means and standard deviations, t-values, F-values, and Pearson's correlation statistics. The results show that the most of sample are female age between 31-40 years old with a marital status. Education at the master's and bachelor's degree level, work positions are Sales Representative, having income from 20,001 to 30,000 baht per months and working experiences are 1-10 years. The motivation factors effect to overall work happiness value in high level, ranging from to the respectful from colleges, responsibility in the job, progress in work, and characteristic of work. At the moderate level Supportive factors in work. Is high Policy and Administration, Relationships with chiefs, subordinates, colleagues, supervisors, job security, personal life and payment and benefits in order. Employees' happiness in the overall 4 aspects is high, from the highest is the satisfaction in life, Negative emotions, Positive emotions and job satisfaction. Different personal factors Life satisfaction, job satisfaction, positive emotions and negative emotions influent happiness in working of the employees’ not different exit Level of education was statistically significant. The motivations and supporting factors of the overall workforce are highly correlated. In the same direction, the happiness in all 4 aspects of work is statistically significant.
Abstract(Thai): การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน ที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานระดับปฏิบัติการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t ค่า F และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 31 - 40 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโทและปริญญาตรี ตำแหน่งงานเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาธุรกิจการขาย มีรายได้ตั้งแต่ตั้งแต่ 20,001 – 30,000 บาท และประสบการณ์การทำงานคือช่วงอายุงาน 1-10 ปี ปัจจัยจูงใจในการทำงานอยู่ในระดับสูง โดยเรียงจาก ด้านการได้รับความยอมรับนับถือ ด้านความรับผิดชอบในงาน ส่วนด้านความสำเร็จในงานกับด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ และด้านความก้าวหน้าในการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยค้ำจุนในการทำงาน อยู่ในระดับสูง โดยเรียงจากด้านสภาพการทำงาน ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านความมั่นคงในงาน ด้านชีวิตส่วนตัวและด้านเงินเดือนและผลตอบแทนตามลำดับ ความสุขในการทำงานของพนักงานในภาพรวม 4 ด้านอยู่ในระดับสูงโดยเรียงลำดับจากสูงสุด คือ ด้านความพึงพอใจในชีวิต ด้านอารมณ์ทางลบ ด้านอารมณ์ทางบวกและด้านความพึงพอใจในงาน ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีความสุขในการทำงานของพนักงาน ด้านความพึงพอใจในชีวิต ด้านความพึงพอใจในงาน ด้านอารมณ์ทางบวก และด้านอารมณ์ทางลบ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นระดับการศึกษา มีความสุขในการทำงานโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในการทำงานของพนักงานโดยรวมมีความสัมพันธ์ในระดับสูง ในทิศทางเดียวกันกับความสุขในการทำงานทั้ง 4 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17512
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis



รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons