Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17508
Title: แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน กรณีศึกษา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดตรัง
Other Titles: Work Motivation Factors Affecting on Employees’ Organization Commitment A Case Study: Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC), Trang Province
Authors: พัฒนิจ โกญจนาท
จิณห์จุฑา นิ่มนวล
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Keywords: ธนาคาร;ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน;แรงจูงใจในการทำงาน
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This study is, thus proposed to examine the effect of demographic factors and organizational commitment, to examine the level of work motivation factors and organization commitment of employees, and work motivation factors affect organization commitment of bank’s employees for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC), Trang province. The samples of the study were 256 bank’s employees for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC), Trang province. The research instrument to collect data was a questionnaires. Descriptive statistics including frequency, percentage mean and standard deviation were used to analyze the data. The results were as follow work motivation factors and organization commitment of employees’ level in the highest levels, Maintenance Factor is the highest levels 4.53. In addition, motivator factor which was the content of job aspect and Maintenance factors which were the security and safety aspect, the social status aspect, and the organizational policy aspect effected the organizational commitment of employees. Both Motivator factor and Maintenance factor could predict the organizational commitment of employees at the level 0.67
Abstract(Thai): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ระดับแรงจูงใจและความผูกพันต่อองค์กร และความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานกับความผูกพันต่อองค์กร ประชากร คือ พนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดตรัง และสาขาในสังกัด ทั้งหมด 256 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวน และทดสอบอิทธิพลของตัวแปรด้วย การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าระดับแรงจูงใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยแรงจูงใจ (ปัจจัยค้ำจุน) ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.53 และแรงจูงใจในการทำงาน (ปัจจัยจูงใจ) ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ และ (ปัจจัยค้ำจุน) ด้านความมั่งคงและปลอดภัย ด้านสถานภาพทางสังคม และด้านนโยบายการบริหารส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ทั้งสองปัจจัยร่วมกันทำนายความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานได้ 0.67
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17508
Appears in Collections:460 Minor Thesis



This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons