กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17422
ชื่อเรื่อง: | The Ways of Earning Money for the University by the Support Staff: Case Study of Prince of Songkla University, Hat Yai |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | แนวทางการหารายได้ให้แก่มหาวิทยาลัยของพนักงานฝ่ายสนับสนุน : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บรรพต วิรุณราช เจนจิรา นวลมาก Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
คำสำคัญ: | การหารายได้;พนักงานฝ่ายสนับสนุน |
วันที่เผยแพร่: | 2022 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The study aims to 1.) investigate means and ways of earning money conducted by the support staffs at autonomous university: case study of Prince of Songkhla University (PSU), Hatyai Campus. 2.) investigate guidelines to improve support staffs’ skills to earn money from various means for their autonomous university 3.) study the use of information among the staffs of Prince of Songkhla University (PSU), Hatyai Campus to employ in earning money for the university. This is a mixed-method research which integrates qualitative and quantitative methods. The sample used in this study was a total of 364 support staffs at Prince of Songkhla University (PSU), Hatyai Campus, which were determined by Krejcie and Morgan Sampling Table. The researcher used the interview question form to sort out the information from the academic staffs and the support staffs as a total of 6 participants. Accordingly, the researcher used the questionnaire as a research tool to collect data. Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of Percentage, Mean (M) and Standard Deviation (SD), Statistical Analysis, Pearson Correlation Coefficient (the level of statistical significance at p -value of 0.5), One-Way ANOVA (F-test), and Paired Sample T-Test by using Post-Hoc test or Least Significant Difference (LSD) Findings are as follows: 1.) Motivation psychology experience, social activities, marketing knowledge, and sales and marketing expertise correlated with the staffs’ capability to earn money for their university. According to result of Pearson Correlation Coefficient analysis which was set between .01 to 05, Pearson Correlation Coefficient’s value was between .597 to .854 and p-value was .000. This has led to a conclusion that personal experience and the individual ability to earn money for the university through 4 means correlate with the level of capability to earn money for the university 2.) All participating support staffs from distinctive authorities employed different types of information in earning money for university. One Way ANOVA overall testing value was at 3.391 and statistical value was at .018.; thereby, Null Hypothesis (H0) was denied and the result could be summarized that support staffs from distinctive authorities employed different types of information in earning money for university. |
Abstract(Thai): | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาช่องทางวิธีการ การหารายได้บุคลากรฝ่ายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 2.) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐให้มีทักษะในการหารายได้ในรูปแบบช่องทางต่าง ๆ 3.) เพื่อศึกษาการใช้สารสนเทศของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในการหารายได้ของบุคลากร งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ พนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จำนวน 364 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเทียบตารางของเครจซี่และมอร์แกน ใช้แบบสัมภาษณ์บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนจำนวน 6 คน หลังจากนั้นจึงใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson Correlation Coefficient) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และใช้สถิติ One-Way ANOVA (F-test) และใช้การทดสอบรายคู่โดยใช้ Post-Hoc test หรือ Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัย พบว่า 1.) ประสบการณ์ด้านจิตวิทยาแรงจูงใจ ประสบการณ์ด้านกิจกรรมสังคม ประสบการณ์นักการตลาด ประสบการณ์นักขาย มีความสัมพันธ์กับระดับความสามารถที่จะหารายได้ให้แก่มหาวิทยาลัย จากผลการทดสอบการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 นั้นมีค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน อยู่ระหว่าง .597 ถึง .854 ค่า p-value เท่ากับ .000 จึงสรุปได้ว่า ประสบการณ์เดิมและพื้นฐานความสามารถในการหารายได้เข้ามหาวิทยาลัยทั้ง 4 ด้าน มีความสัมพันธ์กับระดับความสามารถที่จะหารายได้ให้แก่มหาวิทยาลัย 2.) บุคลากรสายสนับสนุนสังกัดแตกต่างกันมีการใช้ชนิดของสารสนเทศในกิจกรรมการหารายได้เข้ามหาวิทยาลัยแตกต่างกัน ค่าการทดสอบ One Way ANOVA โดยรวม เท่ากับ 3.391 และมีค่าทางสถิติที่ระดับ .018 จึงสรุปได้ว่า บุคลากรสายสนับสนุนสังกัดแตกต่างกันมีการใช้ชนิดของสารสนเทศในกิจกรรมการหารายได้เข้ามหาวิทยาลัยแตกต่างกัน |
รายละเอียด: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17422 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 460 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
6310521038_janejira Nualmak.pdf | 2.09 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License