Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17419
Title: การพัฒนาแบบสอบเชิงวินิจฉัยทางพุทธิปัญญาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 : การประยุกต์ใช้โมเดล DINA
Other Titles: Development of a Cognitive Diagnostic Test in Mathematics on Factor of Number for 6th Grade Students Under the Yala Primary Educational Service Area Office 3 : An Application of DINA Model.
Authors: มัฮดี แวดราแม
ซูฮาดา เจ๊ะสะแม
Faculty of Education (Measurement and Educational Research)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา
Keywords: การประยุกต์ใช้โมเดล DINA;การจัดการเรียนการสอน
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนภาพโมเดลพุทธิปัญญาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนาแบบสอบเชิง วินิจฉัยทางพุทธิปัญญาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบโดยการประยุกต์ใช้โมเดล DINA ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 300 คน จาก 11 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายะลา เขต 3 ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบตรวจสอบความถูกต้องของโมเดลพุทธิปัญญา แบบสอบเพื่อสำรวจ ข้อบกพร่องทางการเรียน และแบบสอบเชิงวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ และวิเคราะห์ผลการวินิจฉัยโดยใช้โมเดล DINA ด้วยโปรแกรม R ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาแผนภาพโมเดลพุทธิปัญญาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ พบว่า ได้คุณลักษณะที่จำเป็น 9 คุณลักษณะ คือ 1 เข้าใจความหมายของตัวประกอบของจำนวนนับ 2) หาตัวประกอบทั้งหมดของจำนวนนับได้ถูกต้อง 3) เข้าใจความหมายของจำนวนเฉพาะ 4) หาตัว ประกอบเฉพาะทั้งหมดของจำนวนนับได้ถูกต้อง 5) แยกตัวประกอบของจำนวนนับที่ไม่ใช่จำนวน เฉพาะได้ถูกต้อง 6) หาตัวประกอบร่วมหรือตัวหารร่วมของจำนวนนับได้ถูกต้อง 7) หา ห.ร.ม. ได้ ถูกต้อง 8) หาตัวคูณร่วมได้ถูกต้อง และ 9) หา ค.ร.น. ได้ถูกต้อง ซึ่งคุณลักษณะทั้ง 9 มีความสัมพันธ์ กันเป็นลำดับขั้นเชิงลู่ออก (hierarchy having a divergent branch) 2. ผลการพัฒนาแบบสอบเชิงวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา ได้แบบสอบเชิงวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา จำนวน 54 ข้อ เป็นแบบสอบชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว ซึ่งแบบสอบ เป็นแบบตรวจให้คะแนนแบบสองค่า (Dichotomous Item) ตอบถูกได้ 1 คะแนน โดยแบบสอบทั้ง ฉบับครอบคลุมทุกคุณลักษณะในโมเดลพุทธิปัญญา 3. ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบเชิงวินิจฉัยทางพุทธิปัญญาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับพบว่า ข้อสอบแต่ละข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item Objective Congruence IOC) เท่ากับ 1.00 หมายความว่า ข้อสอบทุกข้อสามารถวัดได้สอดคล้องกับ คุณลักษณะที่ต้องการวัด สามารถนำข้อสอบทุกข้อไปทดลองใช้ได้ ค่าพารามิเตอร์การเดาข้อสอบถูก (gi) อยู่ระหว่าง 0.000 - 0.182 ค่าพารามิเตอร์ความสะเพร่า (si) อยู่ระหว่าง 0.000 - 0.190 และ ดัชนีอำนาจจำแนกรายข้อ (Item Discrimination Index : IDI) อยู่ระหว่าง 0.680 - 0.983 ค่าความ เที่ยงของแบบสอบจากวิธีของลิวิงตันและวิธีของโลเวท เท่ากับ 0.99 และ 0.98 ตามลำดับ 4. ผลการวินิจฉัยของแบบสอบ พบว่า ความน่าจะเป็นของความรอบรู้ในแต่ละคุณลักษณะ โดยเฉลี่ยสูงสุด และต่ำสุด คือ คุณลักษณะที่ 2 (A2 หาตัวประกอบทั้งหมดของจำนวนนับได้ถูกต้อง) มีความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.8818 และคุณลักษณะที่ 9 (A9 หา ค.ร.น. ได้ถูกต้อง) มีความน่าจะเป็น เท่ากับ 0.6020 ตามลำดับ
Abstract(Thai): The research was aimed to 1)to development of a cognitive model in Mathematics on The factor of number for 6th grade students, 2) to develop a mathematical cognitive diagnostic test The factor of number for 6th grade students and 3) to check the quality of the test by applying the DINA model. The sample were 300 6th grade students from 11 schools under the Yala primary Educational service Area Office 3 semester 2 in academic year 2018 second semester by Multi-Stage Random Sampling. The research tools using in this research were the validation form of cognitive model, the survey test and the mathematical cognitive diagnostic test. The results were analyzed by using the DINA model with the R program. Research results can be summarized as follows: 1. The result of the development of a cognitive model in Mathematics on The factor of number get Attribute that require 9 Attributes, 1) Understand the meaning of the factor of counts, 2) Find all the factors of the number correctly, 3) Understand the meaning of a particular number, 4) Find all the specific factors of the number correctly, 5) Identify the correct number of non-prime numbers, 6) Find the common factor or the common divisor of the correct number, 7) Find G.C.D. of the correct number, 8) Find the correct common multiplier and 9) Find L.C.M of the correct number. In which all 9 attributes are related to each other in a hierarchy having a divergent branch. 2. The results of the development of cognitive diagnostic tests got 54 cognitive diagnostic tests as 4 types of multiple-choice tests with only one correct answer In which the test form is a check form for two points (Dichotomous Item) can be answered 1 point correctly. 3. The results of the quality examination of the mathematics cognitive examination test found that each item has a consistency index (Item Objective Congruence: IOC) equal to 1.00 .The guessing parameter (gi) is between 0.000 - 0.182. The slipping parameter (si) is between 0.000 - 0.190 and the Item Discrimination Index (IDI) is between 0.680 - 0.983 .The reliability of the Livingston method and the Lovett method were 0.99 and 0.98 respectively. 4. The results of the diagnosis of the test showed that the probability of knowledge in each of the characteristics of the average and the highest in the feature 2 (A2, finding all the factors of the correct number) with the probability of 0.8818 and the characteristics 9th (A9, find the correct command) with a probability of 0.6020, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การวิจัยและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17419
Appears in Collections:276 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1642.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.