Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17380
Title: คุณลักษณะของเชื้อ Vibrio alginolyticus ที่แยกได้จากสิ่งแวดล้อมและปลาที่เป็นโรค
Other Titles: Characterization of Vibrio alginolyticus strains isolated from environments and diseased fish
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ คุณลักษณะของเชื้อ Vibrio alginolyticus ที่แยกได้จากสิ่งแวดล้อมและปลาที่เป็นโรค
Authors: ณัฐวรรณ เสริมวิทยวงศ์
วราภรณ์ วุฒฑะกุล
พิมลศรี มิตรภาพอาทร
รัตนรุจิ พุ่มวิเศษ
จำเริญศรี ถาวรสุวรรณ
Faculty of Science (Microbiology)
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยา
กรมประมง. สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำชายฝั่ง
Keywords: วิบริโอ อัจจิโนลัยติคัส;แบคทีเรียก่อโรค
Issue Date: 2556
Abstract: In this study, primers specific to the gyrB gene of Vibrio alginolyticus were developed. A total of 160 strains of V. alginolyticus were isolated from clinical (10), diseased fish (20) and environmental (130) samples using CHROMagar Vibrio and biochemical tests. PCR using gyrB, collagenase, toxR and ompk primers were performed on clinical strains. Nine out of 10 strains showed a positive result using gyrB and collagenase primers. Five out of 10 were positive using tox primers. Ompk primers failed to identify V. alginolyticus isolated from clinical samples. Only 139 and 134 out of 160 strains were positive by PCR using gyB and collagenase primers, respectively. Five environmental strains positive for gyrB gene but negative for collagenase gene were confirmed by 16S rRNA sequencing. The sequences were more than 99% homology to V. alginolyticus. Therefore, PCR using gyrB primers showed higher specificity and sensitivity than collagenase, toxR and ompk primers. These primers could be used to identify V. alginolyticus isolated from various sources. Virulence test of V. alginolyticus was performed on Galleria mellonella larvae. Eleven and 33 strains of V. alginolyticus isolated from diseased fish and environmental samples, respectively were selected for virulence test. They were classified into three virulence types. The high virulence strains were observed only in those isolated from diseased fish (5/11, 45.45%) with the death rates of 66.7 to 100%. The low virulence strains of V. alginolyticus were observed in both isolated from diseased fish (1/11, 9.10%) and environments (13/33, 39.39%). The nonvirulence strains were found in both diseased fish (5/11, 45.45%) and environments (20/33, 60.61%). This indicates that V. alginolyticus can be both true and opportunistic pathogens in fish. The differentially expressed proteins of the highest virulence strain KF2.4 and the nonvirulence strain W6.2 were observed using two-dimensional gel electrophoresis. At least 20 proteins were upregulated in the virulence strain KF2.4. These proteins may be the virulence factors which involved in the pathogenicity of the bacteria and need further identification and characterization. V. alginolyticus virulence factor determination will be the useful information for further development of pathogenic identification method and vaccine development against pathogenic V. alginolyticus.
Abstract(Thai): การศึกษาครั้งนี้ได้ทําการพัฒนาไพรเมอร์ที่มีความจําเพาะต่อ Vibrio alginolyticus เชื้อ V. alginolyticus ทั้งหมด 160 สายพันธุ์ แยกได้จากผู้ป่วย (10) ปลาเป็นโรค (20) และสิ่งแวดล้อม (130) โดยใช้ อาหาร CHROMagar Vibrio และการทดสอบทางชีวเคมี ได้ทําการทดสอบเชื้อสายพันธุ์ที่แยกได้จากผู้ป่วยโดย เทคนิค PCR ด้วยไพรเมอร์ gyrB collagenase toxR และ ompK พบว่า 9 จาก 10 สายพันธุ์ให้ผลบวกกับไพร เมอร์ gyrB และ collagenase 5 จาก 10 สายพันธุ์ให้ผลบวกกับไพรเมอร์ taxR ส่วนไพรเมอร์ ompk ไม่สามารถ จําแนกเชื้อ V. alginolyticus สายพันธุ์ที่แยกจากผู้ป่วยได้ จากเชื้อทั้งหมดที่ใช้ทดสอบพบว่า ไพรเมอร์ gyrB และ collagenase ให้ผลบวกโดยเทคนิค PCR 139 และ 134 สายพันธุ์ตามลําดับ ทําการยืนยัน 5 สายพันธุ์ที่ให้ผลบวก กับไพรเมอร์ gyrB แต่ให้ผลลบกับไพรเมอร์ collagenase โดยการหาลําดับนิวคลีโอไทด์ของยืน 165 rRNA พบว่ามี ความเหมือนกับ V. alginolyticus ร้อยละ 99 ดังนั้น เทคนิค PCR ที่ใช้ไพรเมอร์ gyrB จึงมีความจําเพาะและความ ไวมากกว่าไพรเมอร์ collagenase toxR และ ompK ซึ่งไพรเมอร์นี้สามารถนําไปใช้ในการจําแนกเชื้อ V. alginolyticus ที่แยกมาจากแหล่งต่าง ๆ ได้ การทดสอบความรุนแรงของเชื้อได้ทําการทดสอบในตัวอ่อนของ Galleria mellonella โดยคัดเลือกเชื้อ V. alginolyticus ที่นํามาทดสอบจํานวน 11 สายพันธุ์จากปลาเป็นโรค และ 33 สายพันธุ์จากสิ่งแวดล้อม สามารถจัดจําแนกเชื้อตามความรุนแรงในการก่อโรคได้ 3 กลุ่ม สายพันธุ์ที่มี ความรุนแรงสูงสามารถพบได้ในเชื้อที่แยกได้จากปลาเป็นโรคเท่านั้น (5/11, ร้อยละ 45.45) โดยมีอัตราการตาย ร้อยละ 66.7 ถึง 100 สายพันธุ์ที่มีความรุนแรงต่ําสามารถพบได้ทั้งในเชื้อที่แยกได้จากปลาเป็นโรค (1/11, ร้อยละ 9.10) และสิ่งแวดล้อม (13/33, ร้อยละ 39.39) สายพันธุ์ที่ไม่มีความรุนแรงสามารถพบได้ทั้งในเชื้อที่แยกได้จาก ปลาเป็นโรค (5/11, ร้อยละ 45.45) และสิ่งแวดล้อม (20/33, ร้อยละ 60.61) แสดงให้เห็นว่า V. alginolyticus สามารถเป็นได้ทั้งเชื้อสาเหตุของโรคและเชื้อฉวยโอกาสในปลาได้ การศึกษาการแสดงออกของโปรตีนที่แตกต่างกัน ระหว่างเชื้อสายพันธุ์ KF2.4 ที่มีความรุนแรงสูงที่สุด กับเชื้อสายพันธุ์ W6.2 ที่ไม่มีความรุนแรง โดยเทคนิค twodimensional gel electrophoresis พบว่ามีโปรตีนอย่างน้อย 20 ชนิดที่มีการแสดงออกที่สูงขึ้นในเชื้อสายพันธุ์ที่ มีความรุนแรงสูง KF24 โปรตีนเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยก่อความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการก่อโรคของ เชื้อแบคทีเรียซึ่งจําเป็นที่จะต้องจําแนกและศึกษาลักษณะของโปรตีนเหล่านี้ต่อไป การศึกษาหาปัจจัยก่อความ รุนแรงของ V. alginolyticus จะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในการพัฒนาวิธีจําแนกเชื้อสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงรวมถึง การพัฒนาวัคซีนต้านเชื้อ V. alginolyticus สายพันธุ์ที่ก่อโรคต่อไป
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17380
Appears in Collections:326 Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
413360-abstract.pdf327.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.