Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17374
Title: กลไกการออกฤทธิ์ของตำรับยาสมุนไพร THR-SK010 ต่อเชื้อ Staphyloccl ที่แยกได้จากโรคเต้านมโคอักเสบ
Other Titles: Antibacterial mechanisms of a traditional Thai herbal recipe (THR-SK010) agaiust Staphylocacci isolated from havine mastitis
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ กลไกการออกฤทธิ์ของตำรับยาสมุนไพร THR-SK010 ต่อเชื้อ Staphyloccl ที่แยกได้จากโรคเต้านมโคอักเสบ
Authors: ศศิธร ชูศรี
สุรศักดิ์ ลิ้มสุวรรณ
เกศริน มณีนูน
Faculty of Thai Traditional Medicine
คณะการแพทย์แผนไทย
Keywords: โคนม การรักษา;สมุนไพร การใช้รักษา;ยาสมุนไพร การใช้รักษา
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Concerns about antibiotic residues in milk and emergence of bacterial resistance necessitate exploration of alternative therapeutic strategies to antibiotics for treatment of mastitis. The study was carried out to investigate the antibacterial activity of ethanol extracts Ya-Sa-Marn Phlae (THR-SK010), its herbal components including Curcuma longa Linn., Areca catechu Linn., Oryza sativa Linn., and Garcinia mangostana Linn., as well as their representative chemical constituents including catechin, alpha-mangostin, and curcumin against Staphylococcus spp. isolated from mastitis cows. Additionally, testing the susceptibility of the pathogen to antibiotics as well as mechanisms of action of the agents on the representative clinical isolates were evaluated. Most of tested isolates obtained from mastitis were resistant to penicillin and ceftazidime. The extracts of Ya-Sa-Marn-Phlae, Garcinia mangostana Linn., and alpha-mangostin exhibited remarkable antibacterial effects against all tested staphylococcal isolates. At 4MIC, the agents additionally caused lysis, as determined by measurement of the optical density at 620 nm. Loss of 260-nm-absorbing materials also occurred after treatment with the extracts of Ya-Sa-Marn-Phlae, Garcinia mangostana Linn., and alpha-mangostin at 4MIC. The anti-staphylococcal effects were confirmed with both scanning and transmission electron microscopes. Moreover, Ya-Sa-Marn-Phlae, Garcinia mangostana Linn., and Curcuma longa Linn. extracts inhibit biofilm formation of coagulase positive staphylococci (BCPS) 31 as well as Staphylococcus epidermidis ATCC 35984. The current study indicated that Ya-Sa-Marn-Phlae had strong antibacterial activities and anti biofilm abilities against staphylococci isolated from bovine mastitis similar to that of Garcinia mangostana Linn., alpha-mangostin, and Curcuma longa Linn.
Abstract(Thai): ปัญหาการตกค้างของยาปฏิชีวนะในน้ำนมที่นํามาบริโภคและการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียที่เป็น สาเหตุของโรคเต้านมโคอักเสบ ส่งผลให้ปัจจุบันได้มีการศึกษาถึงพืชสมุนไพรและสารสกัดจากธรรมชาติ ซึ่งสามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคเต้านมโคอักเสบเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว การศึกษา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของตํารับยาสมานแผล (THR-SK010) เปรียบเทียบกับ สมุนไพรเดี่ยวในตํารับ ได้แก่ ขมิ้น หมาก ข้าวสาร และมังคุด รวมทั้ง สารองค์ประกอบทางเคมี curcumin, catechin, และ alpha-mangostin ต่อการด้านการเจริญเติบโตของ staphylococci ที่แยกได้จากโรคเต้านมโค อักเสบจํานวน 14 สายพันธุ์ และ Staphylococcus epidermidis ATCC 35984 ใช้เป็นสายพันธุ์มาตรฐานใน การศึกษาครั้งนี้ จากการศึกษา พบว่าแบคทีเรียกลุ่ม staphylococci มีการคือต่อยา penicillin และ ceftazidime มากที่สุด ผลจากการทดสอบด้วยวิธี broth microdilution method เพื่อหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัด ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (minimum inhibitory concentrations; MIC) พบว่าสารสกัดเอทา นอลของตํารับยาสมานแผลและมังคุด มีประสิทธิภาพที่ดี เมื่อเปรียบเทียบกับสารที่ใช้ในการทดสอบชนิด อื่นๆ เมื่อศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรที่ส่งผลให้เกิดการรั่วและการแตกของเซลล์ของ แบคทีเรีย โดยวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 260 nm และ 620 nm ตามลําดับ พบว่า สารสกัดเอทานอลของตํารับ ยาสมานแผล มังคุด และสารองค์ประกอบทางเคมี alpha-mangostin มีผลทั้งทําให้เกิดการรั่วของสาร (ภายในไซโทพลาซึม) และการแตกของเซลล์แบคทีเรียสายพันธุ์ coagulase-negative staphylococci (BCNS) 18 ภายในระยะเวลา 4 ชั่วโมง จากนั้นจึงยืนยันผลการทดสอบโดยการศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ภายในเซลล์ ด้วยภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (scanning electron microscope; SEM) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (transmission electron microscope; TEM) นอกจากนี้ยังมี การศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัด ในการยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของแบคทีเรีย ซึ่งพบว่าสารสกัด เอทานอลของตํารับยาสมานแผล มังคุด และขมิ้น มีประสิทธิภาพที่ดีในการยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของ coagulase positive staphylococci (BCPS) 31 และ S. epidermiddis ATCC 35984 จากผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จึงสรุปผลได้ว่า สารสกัดเอทานอลของตํารับยาสมานแผล มีประสิทธิภาพที่ดีในการยับยั้งการเจริญเติบโต และยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของแบคทีเรีย ซึ่งสมุนไพรเดี่ยวในตํารับและสารประกอบทางเคมีที่ทําหน้าที่ หลักในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย คือ มังคุด และสารองค์ประกอบทางเคมี alpha-mangostin ในขณะที่สารสกัดเอทานอลของขมิ้นอาจมีหน้าที่หลักในการยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของแบคทีเรีย
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17374
Appears in Collections:190 Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
413330-abstract.pdf421.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.