กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17161
ชื่อเรื่อง: กรอบการดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กแรกเกิด ถึง 12 ปี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Operating framework for health promotion project affecting on nutritional status of newborn to 12 years
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เพ็ญ สุขมาก
พิจาริน สมบูรณกุล
Health System Management Institute
สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
คำสำคัญ: การส่งเสริมสุขภาพ ไทย;ทารก โภชนาการ ไทย;เด็ก โภชนาการ ไทย
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objectives of this mixed method research were to assess an impact of Songkhla food strategy's activities to promote nutritional status of children from newborn to 12 years old, and to develop an operating framework to promote healthy nutrition on a sub-district level. Four steps of the health impact assessment were employed: public screening, public scoping, assessment, and public review. Quantitative and qualitative data was collected between August 2018 - April 2019 in Kuanroo and Chalae sub-districts by in-depth interviews, questionnaires and observation. Content validity of a research instrument was measured to be 0.98. Research participants included 456 parents, 15 teachers, 20 students, and 21 steering committees. Descriptive statistic and content analysis were used to analyze the data. The study found that the promotional activities enhanced the caregiver and the children's knowledge on nutrition as well as improved the school food environment. However, there was little impact on the cooking skill of caregivers, nutritional knowledge and healthy food environment of the community. The percentages of stunt, underweight, and overweight children decreased. Therefore, the guidance on strengthening community action and building healthy public policy was added to the operating framework. Health charters were used to expand nutritional knowledge and to implement healthier food environment in the community in order to continuously promote the children's nutritional health.
Abstract(Thai): การวิจัยเชิงพรรณนาแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบ ทางสุขภาพจากกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิดถึง 12 ปี และพัฒนา กรอบการดําเนินงานส่งเสริมภาวะโภชนาการในระดับตําบล ศึกษาตามขั้นตอนการประเมินผล กระทบทางสุขภาพ 4 ขั้นตอน คือการกลั่นกรอง การกําหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน การประเมินผลกระทบ และการทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ ดําเนินการระหว่างเดือน สิงหาคม 2561 – เมษายน 2562 พื้นที่ศึกษาคือตําบลควนรู อําเภอรัตภูมิ และ ตําบลชะแล้ อําเภอ สิงหนคร จังหวัดสงขลา ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยกลุ่มผู้ปฏิบัติการและกลุ่มคณะกรรมการทั้งหมด 21 คน รวมถึงกลุ่มผู้รับผลประโยชน์ซึ่งประกอบด้วย ผู้ปกครอง 456 คน ครู 15 คน และนักเรียน 20 คน คัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการสํารวจด้วย แบบสอบถาม และรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการทบทวนเอกสารรายงาน เอกสารที่เกี่ยวข้อง การจัดเวทีสาธารณะ สังเกตการณ์ และสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แนวคําถามในการจัดเวทีสาธารณะ 3) แบบบันทึกการสังเกต และ 4) แนวทางการสัมภาษณ์ ทดสอบคุณภาพเครื่องมือโดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิง เนื้อหา ได้ผลวิเคราะห์ความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิง พรรณาและข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า โครงการส่งผลกระทบเชิงบวกถึงปัจจัยกําหนดสุขภาพของเด็ก ในด้านความรู้ของผู้ดูแล การเข้าถึงอาหารของเด็กที่บ้านและโรงเรียน ความรู้ของเด็กด้าน การเกษตรและอาหารปลอดภัย แต่ปัจจัยด้านทักษะการปรุงอาหารของผู้ดูแล ความรู้ของคนใน ชุมชน และการเข้าถึงอาหารในชุมชน ยังได้รับผลกระทบทางบวกค่อนข้างน้อย คือเด็กยังสามารถ เข้าถึงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพได้ง่ายในชุมชน จากการสํารวจอัตราภาวะโภชนาการ พบว่ากลุ่มเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 2 ตําบล มีภาวะเตี้ย น้ําหนักน้อย และอ้วนลดลงร้อยละ 1.5 -9.8 และเด็ก ในโรงเรียนของ ต.ควนรูมีภาวะอ้วนลดลงร้อยละ 4.8 กรอบการดําเนินโครงการส่งเสริมโภชนาการ เด็กที่ได้จึงเพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเช่น การจัดทําวาระตําบล ธรรมนูญสุขภาพตําบล และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีภาวะโภชนาการที่ดี เช่น เพิ่มพื้นที่ทําเกษตรและสถานที่จําหน่ายอาหารปลอดภัยและอาหารสุขภาพในชุมชนและ ปรับระบบ กลไก เพิ่มเติมจากการเสริมความรู้เรื่องโภชนาการให้ทุกคนในชุมชน เพื่อร่วมส่งเสริมให้เด็กมี ภาวะโภชนาการที่ดีต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการระบบสุขภาพ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2563
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17161
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:148 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
441396.pdf1.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons