กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17075
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีต่อข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีและการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรณีศึกษาภาคใต้ตอนล่าง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Influencing the Opinions of Accountants on the Regulations of FAP and the Continuing Profession Development on the Announcement of DBD: Case Study in the Lower Southern Provinces of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปาริชาติ มณีมัย
ธนวัฒน์ ชิสกะ
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: ผู้ทำบัญชี;สภาวิชาชีพบัญชี;กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ทาบัญชีที่มีต่อข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และคุณสมบัติของผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทาบัญชี พ.ศ. 2556 ระดับความคิดเห็นของผู้ทาบัญชีที่มีต่อการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กาหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทาบัญชี พ.ศ. 2557 และทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลกับระดับความคิดเห็นของผู้ทาบัญชีต่อข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีและการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี ประชากรในการศึกษาคือผู้ทาบัญชีที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทาบัญชีกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจานวน 245 คน และใช้สถิติการถดถอยพหุคูณในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของผู้ทาบัญชีที่มีต่อข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีและการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลกับระดับความคิดเห็นของผู้ทาบัญชีต่อข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี พบว่า อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การเป็นผู้ทาบัญชีที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อระดับความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยผู้ทาบัญชีที่มีอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ที่สูงขึ้นจะมีความคิดเห็นในระดับที่เห็นด้วยมากกว่าผู้ทาบัญชีที่มีอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ที่ต่ากว่า ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลกับระดับความคิดเห็นของผู้ทาบัญชีต่อการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี พบว่า อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การเป็นผู้ทาบัญชี และลักษณะของงานบัญชีที่ทาที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อระดับความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยผู้ทาบัญชีที่มีอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ที่สูงขึ้นจะมีความคิดเห็นในระดับที่เห็นด้วยมากกว่าผู้ทาบัญชีที่มีอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ที่ต่ากว่า ในขณะที่ผู้ทาบัญชีที่ทางานเป็นพนักงานบัญชีบริษัทจะมีระดับความคิดเห็นที่เห็นด้วยมากกว่าผู้ทาบัญชีที่ทางานในสานักงานบัญชีหรือรับทาบัญชีอิสระ
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17075
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis



รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons