กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17071
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าเกษตรจากร้านค้าส่งของผู้ค้าปลีก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้: กรณีศึกษาร้านค้าส่งสินค้าเกษตร เอ็ม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Purchasing Behavior of Five Southern Borders Provincese Retailers’ of Agricultural Products from Wholesaler: Case Study of an Agricultural Products Wholesaler M in Hatyai, Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุมนา ลาภาโรจน์กิจ
ผลสุข บริรักษ์สันติกุล
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: พฤติกรรมการเลือกซื้อ;ผู้ค้าปลีก;ร้านค้าส่ง;พฤติกรรมผู้บริโภค
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract(Thai): การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อ สินค้าเกษตรกรรมของผู้ค้าปลีกจากร้านค้าส่งในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ใช้รูปแบบวิธี การศึกษาเฉพาะกรณี การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่างที่เข้ามาเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าส่งในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 18 ราย ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณลักษณะของผู้ค้าปลีกสินค้าเกษตรกรรมส่วนใหญ่มีอายุ อยู่ในช่วง 54-62 ปี นับถือศาสนามุสลิมมากกว่าศาสนาพุทธ สาเร็จการศึกษาไม่เกินระดับ มัธยมศึกษา มีประสบการณ์การทำงานอยู่ในช่วง 11-19 ปี และ 29-37 ปี ส่วนมากสืบทอดกิจการ บิดา-มารดา 2) พฤติกรรมการซื้อสินค้าจากร้านค้าส่งสินค้าเกษตรกรรมในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา พบว่าผู้ค้าปลีกเข้ามาเลือกซื้อสินค้าในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เนื่องจากมีร้านค้าส่ง สินค้าเกษตรกรรมและสินค้าประเภทอื่น ๆ ให้เลือกมากมาย สามารถตอบสนองต่อความต้องการทั้ง ในด้านคุณภาพของสินค้าและราคา โดยได้รับการแนะนาจากบุคคลใกล้ชิด 3) พฤติกรรมการเลือก ซื้อสินค้าจากร้าน M ค้าส่ง พบว่าผู้ค้าปลีกจะเข้ามาซื้อสินค้าจากร้าน M ค้าส่งในช่วงเช้า สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพราะร้าน M ค้าส่งมีบริการที่ดี ราคาถูก มีความหลากหลายของสินค้า และมีนโยบายให้ สินเชื่อกับลูกค้ารายใหญ่ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายตรงตามความ ต้องการของลูกค้า ปัจจัยด้านราคาที่มีราคาที่เป็นมาตรฐานมีความสมเหตุสมผลกับคุณภาพของ สินค้า และปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีบริการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าที่โทรสั่งสินค้า นอกเหนือจากการสั่งซื้อสินค้าจากหน้าร้านเพียงอย่างเดียว ส่งผลต่อกระบวนการการตัดสินใจซื้อ ของผู้ค้าปลีกด้วยเช่นกัน ผลที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่ดำเนิน กิจการค้าส่ง หรือผู้ที่กำลังริเริ่มเปิ ดร้านค้าส่ง เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาด
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17071
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis



รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons