กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15899
ชื่อเรื่อง: ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาท่องเที่ยวเกล็ดใหญ่ Parapocryptes serperaster ในทะเลสาบสงขลาตอนล่าง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาพร, องสารา
สุกัญญา, บุญรักษ์
อับดุลรอซะ, บูงอตันหยง
เชาวดี, ช่อมณี
คำสำคัญ: การลดลงของทรัพยากรชีวภาพและความหลากหลายทางชีวภาพ
วันที่เผยแพร่: ธัน-2551
บทคัดย่อ: ศึกษาชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาท่องเที่ยวเกล็ดใหญ่ Parapocryptes serperaster (Richardson, 1846) ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2550 รวมเป็นระยะเวลา 16 เดือน รวบรวมตัวอย่างจากเกาะยอ เดือนละครั้ง โดยเครื่องมือข่ายปลาท่องเที่ยวและข่ายกุ้ง ซึ่งมีแหล่งทำการประมงบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะยอ บันทึกข้อมูลความยาวลำตัวปลา น้ำหนักตัวปลา และน้ำหนักเซลล์สืบพันธุ์ ผลการศึกษาพบว่า ปลาท่องเที่ยวเกล็ดใหญ่มีขนาดความยาวตัวระหว่าง 14.0-27.0 เซนติเมตร สมการความสัมพันธ์ระหว่างความยาวเหยียดกับน้ำหนัก รวมทั้งสองเพศเท่ากับ W = 0.0984 L2.041 เพศผู้เท่ากับ W = 0.0368 L2.331 และเพศเมียเท่ากับ W = 0.0610 L2.225 อัตราส่วนระหว่างเพศผู้ต่อเพศเมียของปลาท่องเที่ยวเกล็ดใหญ่ ในรอบปีเท่ากับ 1 : 0.7 ขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ของปลาท่องเที่ยวเกล็ดใหญ่เพศเมียเท่ากับ 19.8 เซนติเมตร ปลาท่องเที่ยวเกล็ดใหญ่มีการพัฒนาของเซลล์สืบพันธุ์ และมีค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศสูง 2 ช่วง คือตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม และตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน โดยช่วงการสืบพันธุ์วางไข่ของปลาท่องเที่ยวเกล็ดใหญ่มีค่าสูงในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15899
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น