กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15894
ชื่อเรื่อง: ทำ ประมงอย่างไรให้ยั่งยืน กรณีศึกษาทะเลสาบสงขลา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คำสำคัญ: คุณภาพสิ่งแวดล้อม;การลดลงของทรัพยากรชีวภาพและความหลากหลายทางชีวภาพ;ความไม่มั่นคงทางอาหาร
วันที่เผยแพร่: กรก-2557
สำนักพิมพ์: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บทคัดย่อ: การวิเคราะห์พฤติกรรมการตอบสนองต่อนโยบายการจับสัตว์น้ำของ ชาวประมงในทะเลสาบสงขลานี้ ได้ออกแบบการศึกษาโดยใช้แนวคิดพื้นฐาน ของการใช้ทรัพยากรร่วมกันและใช้ทฤษฎีเกมเป็นฐานแนวคิด โดยเลือกการ จับกุ้งด้วยไซนั่งเป็นกรณีศึกษา การศึกษาได้สังเกตพฤติกรรมการจับสัตว์น้ำ ภายใต้มาตรการต่างๆ ในสองสถานการณ์คือ เมื่อทะเลสาบมีปริมาณกุ้ง ในทะเลสาบมากและน้อย โดยปริมาณกุ้งในทะเลสาบจะถูกกำหนดจากระดับ ความเค็มของน้ำซึ่งได้รับอิทธิพลจากฤดูกาล ผลการศึกษาพบว่า มาตรการการให้ชาวประมงร่วมกันจัดการ (Co-management) จะสามารถควบคุมจำนวนการวางไซให้อยู่ในระดับ ที่เหมาะสมได้ดีกว่ากรณีการใช้มาตรการบังคับโดยภาครัฐ (External Regulation) และพบว่าทรัพยากรประมงมีความยั่งยืนมากกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้นโยบายการให้สิทธิการจับสัตว์น้ำที่ต่างกัน จะส่งผลต่อการละเมิดกฎของชาวประมงต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ชาวประมงฝ่าฝืนกฎลดลงเมื่อใช้นโยบายให้สิทธิการจับสัตว์น้ำที่เปลี่ยนมือได้ (Individual Transferable Quotas: ITQs) โดยเปรียบเทียบกับกรณีให้ สิทธิที่ไม่สามารถเปลี่ยนมือได้ (Individual Quotas: IQs) สาเหตุเนื่องจาก นโยบายให้สิทธิที่สามารถเปลี่ยนมือได้ มีความยืดหยุ่นมากกว่าสำหรับ ชาวประมงที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจำนวนการวางไซ อย่างไรก็ตามการใช้มาตรการการกำหนดโควตาที่สามารถ เปลี่ยนมือได้นี้ ต้องอยู่ภายใต้การกำหนดบทลงโทษที่เหมาะสม
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15894
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Songkhla Lake 2_fishery.pdf7.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น