Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15608
Title: การพัฒนาเกษตรกรต้นแบบการจัดระบบการปลูกพืชเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดพัทลุง
Authors: สำราญ, สะรุโณ
ปัทมา, พรหมสังคหะ
ไพเราะ, เทพทอง
สาริณีย์, จันทรัศมี
มานิตย์, แสงทอง
ไพโรจน์, สุวรรณจินดา
นลินี, จาริกภากร
บรรเทา, จันทร์พุ่ม
อุดร, เจริญแสง
Issue Date: 2552
Publisher: สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8
Abstract: การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างเกษตรกรต้นแบบด้านการผลิตพืชผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ในเขตนิเวศน์เกษตรต่างๆ ของพื้นที่จังหวัดพัทลุง 11 ต้นแบบ การวิจัยใช้กรอบแนวความคิดด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผสมผสานกับ แนวความคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน การพัฒนาภูมิปัญญา และการพัฒนาเกษตรผสมผสาน ใช้กระบวนการขับเคลื่อนโดยผสมผสานแนวความคิดการเคลื่อนไหวทางสังคม ได้แก่ เวทีวิจัยสัญจรครัวเรือนต้นแบบ กระบวนการวิจัยเชิงระบบ การวิจัยเชิงพื้นที่ ประชาพิจัย การสร้างวาทกรรม อัตลักษณ์ และจัดทำแปลงปลูกพืช ผลการดำเนินงานจากการสร้างวาทกรรมหลักในการเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการเรียนรู้สู่การพึ่งตนเองของต้นแบบ 4 ด้าน คือ 1)การสร้างหัวใจพอเพียง พบว่า เกษตรกรต้นแบบให้ความสำคัญเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงด้านความพออยู่พอกิน การลดต้นทุน การทำให้เหลือขาย รายได้เมื่อหักรายจ่ายต้องไม่มีหนี้สิน ปลูกพืชแล้วเพื่อนบ้านพลอยได้ประโยชน์ และทำไปเรียนรู้ไป 2)การพัฒนาพืชผสมผสานพอเพียง 7 กลุ่ม พบว่าเกษตรกรปลูกพืชเฉลี่ย22.8 ชนิด/ครัวเรือน เป็นพืชรายได้ 3.2 ชนิด พืชอาหาร 9 ชนิด พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ 6.8 ชนิด พืชสมุนไพรกำจัดศัตรูพืช 1.5 ชนิด กลุ่มพืชที่มีการปลูกน้อยคือ พืชอาหารสัตว์ พืชอนุรักษ์ดินและน้ำ พืชใช้สอยและพืชอนุรักษ์พันธุ์กรรม 3)การพัฒนาภูมิปัญญาภิวัฒน์พอเพียง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาและพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยด้วยตนเอง ประเด็นความรู้ที่เกษตรกรสนใจทำการทดลอง ได้แก่ การลดต้นทุนปุ๋ยเคมีและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในยางพารา การใช้สารทดแทนใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในพืชผัก การเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน ข้าว ไม้ผล พืชไร่ สับปะรด พืชต่างระดับเพื่อเพิ่มรายได้และเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่ และการใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีเป็นต้น 4)การดำรงชีพพอเพียง พบว่าเกษตรกรมีความสามารถในการดำรงชีพให้พอเพียงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2550 โดยด้านที่เพิ่มขึ้นคือ ความมีภูมิคุ้มกันด้านทุนในการดำรงชีพ เพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับมาก ส่วนด้านอื่นๆคงที่ ได้แก่ ความพอประมาณคงที่อยู่ในระดับปานกลาง ความมีเหตุผลคงที่อยู่ในระดับมาก ภูมิคุ้มกันจากผลกระทบคงที่อยู่ในระดับปานกลาง และความพอเพียงรวมคงที่อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพอเพียง มี 10 ตัวแปร คือ มีการเพิ่มทุนในการดำรงชีพโดยรวม มีความสามารถในการเป็นวิทยากร การมีคุณธรรมความเพียร มีต้นทุนมนุษย์ มีภูมิคุ้มกันจากบริบทความอ่อนแอ ไม่แน่นอน มีการเปิดรับข่าวสาร การให้เงินช่วยเหลือสังคม/สาธารณะ มีต้นทุนการเงิน มีต้นทุนกายภาพ และการมี ความสุขจากทุกๆด้าน ส่วนกระบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดผลต่อการพัฒนาต้นแบบเด่นชัดคือการจัดเวทีวิจัยสัญจรที่บ้านเกษตรกรหมุนเวียนกันไปเดือนละ 1 ครั้ง ผลการจัดเวทีวิจัยทำให้เกิดแรงจูงใจและแรงผลักดันในการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และทำการปรับปรุงการผลิตพืช มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาการปลูกพืชแลกเปลี่ยนพันธุ์พืช มีการรื้อฟื้นวัฒนธรรมการใช้ชีวิตชุมชนชนบท การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกัน ร่วมการสร้างอัตลักษณ์ และอื่นๆ
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15608
Appears in Collections:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.