กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15569
ชื่อเรื่อง: สำรวจและวิเคราะห์ระบบการผลิตพืชอย่างยั่งยืนภายใต้ระบบเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดสงขลา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญพา, ชูผอม
ศรินณา, ชูธรรมธัช
คำสำคัญ: ความไม่มั่นคงทางอาหาร
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: การสารวจระบบการผลิตพืชอย่างยั่งยืนภายใต้ระบบเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดสงขลา เพื่อศึกษาระบบการผลิตพืชอย่างยั่งยืน รูปแบบของการทาการเกษตร และการปรับเปลี่ยนการเกษตรในช่วงที่ผ่านมา 5 ปี ภายใต้ระบบเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดสงขลา เกษตรกรทั้งหมดที่ทาการสารวจ จานวน 142 คน แบ่งเป็นเพศชาย 56 คน คิดเป็น 39.44 เปอร์เซ็นต์ เพศหญิง 86 คน คิดเป็น 60.56 เปอร์เซ็นต์ อายุเกษตรกรเฉลี่ย 54 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ในระดับ ป.1-ป.6 จานวน 102 คน คิดเป็น 71.83 เปอร์เซ็นต์ มีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพการเกษตรมากกว่า 10 ปี จานวน 133 คน คิดเป็น 93.66 เปอร์เซ็นต์ จากเกษตรกรที่ทาการสารวจทั้งหมดพบว่า มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 17.55 ไร่ มีรายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ย 155,244 บาทต่อปี รูปแบบการทาการเกษตรของเกษตรกรจังหวัดสงขลา มี 3 รูปแบบ คือ ปลูกพืชอย่างเดียว ปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ และปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์และประมง เกษตรกรมีรูปแบบการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์มากที่สุด 9 อาเภอ ได้แก่ สะบ้าย้อย จะนะ รัตภูมิ นาทวี ระโนด กระแสสินธุ์ ควนเนียง บางกล่า และ หาดใหญ่ เกษตรกรมีพื้นที่ถือครองระหว่าง 13.45 - 22.79 ไร่ มีรายได้ต่อครัวเรือนอยู่ในช่วง 79,000-217,625 บาทต่อปี รองลงมาคือรูปแบบปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์และประมง จานวน 4 อาเภอ ได้แก่ เทพา สทิงพระ นาหม่อม และคลองหอยโข่ง เกษตรกรมีพื้นที่ถือครองระหว่าง 9.83-18.23 ไร่ มีรายได้ต่อครัวเรือนอยู่ในช่วง 91,500 - 251,800 บาทต่อปี และรูปแบบที่ 3 คือ ปลูกพืชอย่างเดียว มี 1 อาเภอ ได้แก่ สิงนคร เกษตรกรมีพื้นที่เฉลี่ย 15.44 ไร่ มีรายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ย 212,267 บาทต่อปี การเปลี่ยนแปลงระบบการปลูกพืชของเกษตรกร ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่จากนาข้าวเป็นยางพารา ได้แก่ อาเภอสะบ้าย้อย เทพา จะนะ รัตภูมิ นาทวี กระแสสินธุ์ ควนเนียง บางกล่า นาหม่อม และหาดใหญ่ เกษตรกรมีการปรับ เปลี่ยนพื้นที่นาข้าวเป็นปาล์มน้ามัน ได้แก่ อาเภอเทพา กระแสสินธุ์ และสิงหนคร เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่นาข้าวเป็นไร่นาสวนผสม ได้แก่ อาเภอรัตภูมิ จะนะ และ สะบ้าย้อย
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15569
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น