กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15277
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์วิจัยคุณภาพน้ำรอบทะเลสาบสงขลา พ.ศ. 2535-พ.ศ.2539
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริวัฒน์ม, สันติเมธวิรุฬ
เจียมจิตร, ขวัญแก้ว
คำสำคัญ: คุณภาพสิ่งแวดล้อม
วันที่เผยแพร่: 2539
สำนักพิมพ์: กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์สานักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน
บทคัดย่อ: การศึกษาคุณภาพน้ารอบทะเลสาบสงขลา ซึ่งประกอบด้วย ทะเลสาบ ทะเลหลวง (ตอนกลาง ตอนล่างและตอนบน) และทะเลน้อย โดยปากทะเลสาบอยู่ติดกับทะเล (อ่าวไทย) ทาให้น้าทะเลหนุนเข้า จึงทาการศึกษาความเค็มของน้าในทะเลสาบ ทะเลหลวงและทะเลน้อย วัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางสาหรับวางแผนโครงการพัฒนาทะเลสาบสงขลา ให้สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืช การอุปโภคบริโภคและการประมง โดยทาการศึกษาวิเคราะห์คุณภาพน้า เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2535-2539) ผลการศึกษาพบว่า น้ามีความเค็มตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับการหนุนของน้าทะเลและปริมาณน้าฝนตลอดปีพบว่าในเดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม จะเป็นเดือนที่มีปริมาณน้าฝนมากที่สุดและมีความเค็มต่า ส่วนเดือนกันยายนและตุลาคมเป็นเดือนที่น้าทะเลหนุนเข้ามามาก และมีความเค็มสูง โดยเฉพาะที่บ้านเกาะนางคา ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ทะเลจะได้รับอิทธิพลจากน้าทะเล ซึมเข้ามาผ่านใต้ผิวดินด้วย ดังนั้นในเดือนเมษายนช่วงหน้าแล้งได้รับอิทธิพลจากน้าทะเล 2 ทาง จึงส่งผลให้ค่าความเค็มสูง โดยเฉลี่ยทั้ง 5 ปี ทะเลสาบสงขลา (สถานีบ้านหัวเขา, สถานีบ้านปากรอ) มีความเค็มสูงมาก EC เฉลี่ย 31120 micromhos/cm ทะเลหลวงตอนล่าง (สถานีบ้านเกาะนางคา, สถานีบ้านปากพะยูน) น้าเค็ม EC เฉลี่ย 11896 micromhos/cm ทะเลหลวงตอนกลาง (สถานีบ้านถิ่น) น้ากร่อย EC 3474 micromhos/cm ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคได้ ทะเลหลวงตอนบน (สถานีบ้านลาปา, สถานีบ้านระโนด, สถานีบ้านท่าช้าง, สถานีบ้านชิงแส) EC เฉลี่ย 1030 micromhos/cm ซึ่งจัดเป็นน้ากร่อยเล็กน้อย พอที่จะใช้สาหรับปลูกพืชที่ทนความเค็มได้บ้าง แต่ต้องมีการระบายน้าและล้างดินอยู่เสมอ ส่วนในทะเลน้อย เดือนกรกฎาคม 2535 ได้รับอิทธิพลจากน้าทะเลที่หนุนขึ้นมา โดยวัดค่า EC ได้ 4355 micromhos/cm ส่วน EC เฉลี่ย 417 micromhos/cm ซึ่งจัดเป็นน้าจืดใช้สาหรับปลูกพืชได้ทุกชนิดและอุปโภคบริโภคได้ โดยเฉลี่ย Ionic composition ประกอบด้วย Divalent cations (Ca+++Mg++) 24.64% Monovalent cation (Na+) 75.36% ของ Total Cations (meq/l) และ Alkalinity (CO3+HCO3) 5.53%, Chloride (CI) 83.36%, Sulphate (SO4) 11.11% ของ Total anions (meq/l) จากทะเลสาบถึงทะเลน้อยมี Ion Content อยู่ระหว่าง 3.78-431.45 meq/l (Cations equivalent)
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15277
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
วิเคราะห์คุณภาพน้ำslb2535-2539.pdf109.57 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น