กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15224
ชื่อเรื่อง: | ผลกระทบของการพัฒนาการเกษตรที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคม กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหนด จังหวัดพัทลุง |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พะเยาว์ รัตนวิบูลย์ และคณะ |
คำสำคัญ: | การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม;ความไม่มั่นคงทางอาหาร |
วันที่เผยแพร่: | 1990 |
สำนักพิมพ์: | กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร |
บทคัดย่อ: | การศึกษาผลกระทบของการพัฒนาการเกษตรที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคมครั้งนี้เป็นการศึกษา ในลักษณะกรณีศึกษาของกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด เกี่ยวกับประเด็นความเป็นมา การหาสิ่งของมาจำหน่าย การรวบรวมผลผลิต การรับฝากเงิน การให้เงินกู้ การส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตรและจริยธรรม การสนับสนุนองค์กรท้องถิ่น และผลกระทบของการพัฒนาการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมดที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อสถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้ใช้ข้อมูลประกอบการวางแผน การพัฒนาองค์กรเกษตรกร ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ได้ข้อมูลจากคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกร เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล เกษตรจังหวัด และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้ข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ของกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหนด แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยใช้อัตราส่วนใช้ร้อยละ และใช้ coefficient ผลการศึกษา (1) ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด เป็นกลุ่มเกษตรกรที่จัดตั้งเมื่อปี 2517 เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการทำนา เริ่มแรกมีสมาชิก 67 ครอบครัว ปัจจุบันมีสมาชิก 805 ครอบครัว มีพื้นที่ทำการเกษตร 23,359 ไร แบ่งเป็นปลูกยางพารา 13,633 ไร่ (58) ทำนา 8,764 ไร่ (37) ทุเรียน 535 ไร่ (25) เงาะ 270 ไร่ (1.5) และลองกอง 137 ไร่ (1) มีคณะกรรมการ 5 คน หน่วยเกษตรกรรม 25 หน่วย พนักงานของกลุ่ม 7 คน มีทุนดำเนินงาน 3,518,939.80 บาท มีทรัพย์สินถาวรได้แก่ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง จำนวน 424,251.42 บาท (2) การพัฒนาการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด กลุ่มได้ดำเนินการจัดหาสิ่งของมาจำหน่าย เช่น ปุ๋ย สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช อุปกรณ์ทำยางแผ่น สินค้าอุปโภคบริโภค รวมเป็นมูลค่า 1,865,327 บาท ได้รวบรวมผลผลิตเป็นยางแผ่นดิบของสมาชิกจำนวน 1,059,680 กิโลกรัม ให้เงินกู้แก่สมาชิกระหว่างปี 5,787,300 บาท มีการรับฝากเงินจากสมาชิกเป็นเงิน 11,267,858 บาท ได้ส่งสมาชิกเข้ารับการอบรมด้านการเกษตร 27 ครั้ง จำนวน 685 คน ได้พาคณะกรรมการหัวหน้าหน่วยสมาชิกไปทัศนศึกษา และส่งเสริมให้มีการละเว้นอบายมุขทุกคน นอกจากนี้ยังได้มีการสนับสนุนกิจการด้านศาสนา ส่งเสริมพลเมืองดี และสนับสนุนองค์กรต่างๆ ในท้องถิ่น (3) ผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจ การดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมดก่อให้เกิดผลทางด้านเศรษฐกิจ คือ ช่วยให้สมาชิกขายยางแผ่นดิบได้ราคาสูงขึ้นยกระดับคุณภาพยางแผ่นดิบให้ดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุอุปกรณ์การเกษตรและเครื่องอุปโภคบริโภค ช่วยให้สมาชิกและลูกหลานมีเงินออมจากการฝากเงินในกลุ่มและยังช่วยให้สมาชิกมีเงินกู้เพื่อการลงทุน จากเงินที่รับฝากเมื่อกลุ่มมีกำไรสมาชิกยังได้ส่วนแบ่งเป็นผลกำไรอีก (4) ผลกระทบที่มีต่อสังคม การดำเนินงานได้ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสังคม คือ เสริมสร้างคนดี พัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พัฒนาความเป็นผู้นำ ก่อให้เกิดความเกื้อกูลระหว่างสถาบันเกษตรกร (กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และกลุ่มยุวเกษตรกร) องค์กรในท้องถิ่น และก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างไทยพุทธกับไทยมุสลิม (5) จากการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมดที่ผ่านมา เรียกได้ว่าช่วยให้สมาชิกยึดอาชีพการเกษตรได้อย่างมั่นคง จะเห็นได้จากเกษตรกรทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นทุกปี และยังพบว่าการดำเนินงานเป็นที่พอใจของสมาชิกจะเห็นได้จากสมาชิกเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน รวมทั้งการให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ส่วนเจ้าหน้าที่ได้แสดงให้เห็นว่า ถ้าองค์กรของเกษตรมีความมั่นคงแข็งแรงจนสามารถพึ่งพาตนเองได้แล้ว การพัฒนาการเกษตรย่อมบรรลุตามเป้าหมายได้ง่ายเพราะมีกลุ่มเกษตรกรเป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาการเกษตรได้เป็นอย่างดี |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15224 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
ผลกระทบของการพัฒนาการเกษตรที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคม กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหนด จังหวัดพัทลุง.docx | 13.58 kB | Microsoft Word XML | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น