กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15204
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสดในนาข้าวจังหวัดพัทลุง |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พรสิทธิ์, รังสิมันตุชาติ |
คำสำคัญ: | ความไม่มั่นคงทางอาหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2545 |
สำนักพิมพ์: | กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกรผลการปฏิบัติของเกษตรกรในการใช้ปุ๋ยพืชสด และความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสดในนาข้าว 2) เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนตลอดจนความเป็นไปได้ทางการเงินในการลงทุนของเกษตรกร ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสดในนาข้าว 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการใช้ปุ๋ยพืชสดในนาข้าว ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้คือเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ จำนวน 20 ราย การศึกษาข้อมูลเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่หนึ่งและสาม อธิบายโดยการใช้สถิติพรรณนาทั่วไป (Descriptive Statistics) ส่วนการศึกษาวัตถุประสงค์ที่สอบใช้การวิเคราะห์โดยใช้สมการต้นทุนและรายได้ และใช้เกณฑ์วิเคราะห์ทางการเงินแบบปรับค่าของเวลาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรมีอายุโดยเฉลี่ย 41.5 ปี มีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 14.62 ไร่ พื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 5 ไร่ พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นที่นิยมในท้องถิ่นและพันธุ์ส่งเสริมคือพันธุ์เฉี้ยง เล็บนก ชัยนาท 1 หอมคลองหลวง การปฏิบัติของเกษตรกรในการใช้ปุ๋ยพืชสดพบว่าส่วนใหญ่เกษตรกรปฏิบัติได้ถูกต้อง ความคิดเห็นของเกษตรกรในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยพืชสดที่มีผลต่อ การเจริญเติบโตของข้าว การปรับปรุงบำรุงดินและการยอมรับการใช้ปุ๋ยพืชสดเกษตรกรมีความคิดเห็นในระดับที่ดีที่สุดในทุกด้าน การศึกษาเกี่ยวกับผลตอบแทนจากการลงทุนในการผลิตข้าว ปี 2543-2544 พบว่าทั้งต้นทุนรายได้สุทธิและกำไรสุทธิในโครงการสูงกว่านอกโครงการ ส่วนผลตอบแทนทางการเงิน ความเป็นไปได้ในการลงทุนสูงกว่านอกโครงการ กล่าวคือมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 1,674.91 บาทต่อไร่ และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C) เท่ากับ 1.36 บาทต่อไร่ ในขณะที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิการผลิตข้าวนอกโครงการเท่ากับ 516.27 บาทต่อไร่ และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน เท่ากับ 1.2 บาทต่อไร่ นอกจากนี้พบว่าการใช้ปุ๋ยเคมีในโครงการมีปริมาณลดลง 20.13 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับปัญหาอุปสรรคในการใช้ปุ๋ยพืชสดมีน้อยมาก ปัญหา อุปสรรคที่พบคือการเจริญเติบโตพืชปุ๋ยสดไม่ดีเท่าที่ควร การปลูกพืชปุ๋ยสดมีความยุ่งยาก ส่วนข้อเสนอแนะของเกษตรกร ได้แก่ การจัดหาพืชปุ๋ยสดให้วางจำหน่ายอย่างแพร่หลาย การจัดส่งพืชปุ๋ยสดควรให้รวดเร็ว และให้เกษตรกรที่อยู่นอกโครงการได้มีโอกาสใช้ปุ๋ยพืชสด มีข้อวิจารณ์การจัดทำแปลงส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสดในระยะแรกอาจมีปัญหาบ้างแต่เมื่อมีการใช้ในปีต่อไป เกษตรกรจะเริ่มเห็นผลดีของการใช้ปุ๋ยพืชสดการยอมรับจึงเกิดขึ้น การส่งเสริมให้เกษตรกรได้มีการใช้ปุ๋ยพืชสดในระยะแรกๆ รัฐควรเป็นผู้ลงทุนเพื่อสร้างความสนใจให้เกษตรกรได้ปรับปรุงบำรุงดินผลตอบแทนในการลงทุนทางการเงินของโครงการให้ผลตอบแทนที่ดี และมีความเป็นไปได้ของการลงทุนสูงกว่านอกโครงการทำให้เกษตรกรมีรายได้มากพอเพียงค่าเหนื่อยและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ดีกว่าการผลิตในสภาพปกติ มีข้อเสนอแนะคือควรให้ความรู้ในการใช้ปุ๋ยพืชสดแก่เกษตรกรที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ควรมีการประชาสัมพันธ์ผลดีการใช้ปุ๋ยพืชสดอย่างสม่ำเสมอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทำการวิจัยเพิ่มเติมถึงคุณสมบัติที่เหมาะสมของปุ๋ยพืชสดแต่ละชนิด ในสภาพพื้นที่การปลูกทุกภาคในระยะยาวรัฐควรร่วมกับเอกชนในการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดให้พอเพียงต่อความต้องการ |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15204 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
รายงานการศึกษาผลการดำเนินงานโครงการส่งเสิมการใช้ปุ๋ยพืชสดในนาข้าวจังหวัดพัทลุง.docx | 13.51 kB | Microsoft Word XML | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น