กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/14974
ชื่อเรื่อง: การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติในภาคใต้ของประเทศไทย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พยอม รัตนมณี
คำสำคัญ: ภัยพิบัติ น้ำท่วม ดินถล่ม;คุณภาพสิ่งแวดล้อม
วันที่เผยแพร่: 12-ตุล-2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเกิดขึ้นในหลายๆ พื้นที่ของประเทศไทย ทั้งชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และด้านอันดามัน ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ รวมทั้งเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จากสถิติข้อมูลซึ่งบันทึกโดยศูนย์เตือนภัยแห่งชาติ พบว่า ปัญหาการกัดเซาะเกิดบ่อยครั้งและมีความรุนแรงขึ้น จนเมื่อเร็วๆ นี้ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลได้ถูกบรรจุ อยู่ในแผนภัยพิบัติแห่งชาติ ในการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลหลาย รูปแบบที่เสนอโดยภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งมีทั้งการใช้มาตรการป้องกันแก้ไขแบบแข็งและแบบอ่อน มาตรการแบบแข็งคือมาตรการที่อาศัยโครงสร้างชายฝั่งในการป้องกันแก้ไขปัญหา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วิธีการใช้โครงสร้าง” โครงสร้างชายฝั่งที่ใช้โดยทั่วไป เช่น เขื่อนกันคลื่น รอดักทราย กำแพงกันคลื่น และกอง หินหัวหาด มาตรการป้องกันแก้ไขนี้เป็นมาตรการที่เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรงและเป็นปัญหา เรื้อรังมานาน โดยมาตรการดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ในการป้องกันการกัดเซาะในบริเวณพื้นที่ โครงการ แต่จะสร้างผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียง ในขณะที่มาตรการป้องกันแก้ไขแบบอ่อนเหมาะสำหรับพื้นที่ ที่ต้องการใช้เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งและมีพลังงานคลื่นค่อนข้างน้อย วิธีที่ใช้ในมาตรการนี้ได้แก่การเสริม ทรายชายหาดและการปลูกป่าชายเลน ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายคือการบูรณาการความรู้เพื่อใช้ ป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลโดยการวางปะการังเทียมซึ่งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็น เขื่อนกันคลื่นใต้น้ำเพื่อลดพลังงานคลื่น แท่งปะการังเทียมที่ใช้ในโครงการนี้ถูกออกแบบให้มีรูปทรงที่เอื้อต่อ ระบบนิเวศทางทะเล และมีมวลที่สามารถต้านทานแรงคลื่นได้ ส่วนการจัดเรียงแนวปะการังเทียม ได้ออกแบบ แนวการจัดวางเพื่อให้สามารถดูดซับพลังงานของคลื่นหลักในหน้ามรสุมได้ รวมทั้งลดผลกระทบต่อการพัดพา ตะกอนทรายในแนวขนานชายฝั่ง และจากการที่ระดับสันของปะการังเทียมอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลต่ำสุด จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาการบดบังภูมิทัศน์อันสวยงามของชายหาด และยังทำให้มูลค่าในการก่อสร้างน้อยลงอีกด้วย จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าการวางปะการังเทียมที่ผ่านการออกแบบดังกล่าวน่าจะเป็นทางเลือกที่ เป็นไปได้สูงในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทย
รายละเอียด: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติเรื่อง “การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติในภาคใต้ของ ประเทศไทย” จัดโดยมูลนิธิการศกษาทางไกลผ่านนดาวเทียม ร่วมกับมหาวิทยาลยสงขลานครินทร์ วันที่ 12-13 ตุลาคม 2554 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฯ ม.สงขลานครินทร์อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/14974
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:994 งานวิจัยเชิงชีวภาพ-กายภาพ

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติในภาคใต้ของประเทศไทย.pdf1.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น