กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/14253
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยคุณภาพการบริการมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านขายยา ในเขตอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An Influence of Service Quality on Decision Making Process of Selecting Drugstore in MueangTrang, Trang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุมนา ลาภาโรจน์กิจ
สุกัญญา ศรสงวนสกุล
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: คุณภาพการบริการ;ร้านขายยา;กระบวนการตัดสินใจ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract(Thai): การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพการ บริการร้านขายยา กับกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านขายยา ในเขตอำเภอเมืองตรัง จังหวัด ตรัง และศึกษาปัจจัยคุณภาพการบริการ มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านขายยา ในเขตอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ เป็ นผู้ใช้บริการในเขตอำเภอ เมืองตรัง จังหวัดตรัง ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 398 คน และใช้วิธีในการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย มีค่าความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.929 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ คือการวิเคราะห์ หาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ และวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับคุณภาพการบริการทั้ง 5 ด้าน มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านขายยาในเขตอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และปัจจัยคุณภาพการบริการมีผลต่อกระบวนการ ตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านขายยา พบเพียงด้านเดียวที่มีผลต่อการตัดสินใจ คือ ด้านการตอบสนองความต้องการ (Beta = 0.381) ที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการ ร้านขายยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถอธิบายความผันแปรของกระบวนการ ตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านขายยาในเขตอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรังได้ 22.20% (􀀁􀀂= 0.222) ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ในด้านที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการ ร้านขายยา ในเขตอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง คือด้านการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ดังนั้น ทางเภสัชกรควรมีใบประกอบวิชาชีพ และควรอยู่ทำการประจำการร้านตลอดเวลา เพื่อคอยให้คำแนะนำผู้ใช้บริการ และมีความพร้อมที่จะให้บริการอยู่ตลอดเวลา ให้บริการอย่าง รวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้ารับบริการได้ง่าย ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยครั้งนี้ สามารถ นำข้อมูล เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจเปิดร้านขายยา อีกทั้งผู้ประกอบการได้นำไปใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาร้านขายยา และคุณภาพการการบริการให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/14253
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น