กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/14098
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจสุขภาพและทัศนคติต่อการเสริมความงามของผู้หญิงสูงอายุ ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Relationship between Health Consciousness and Attitude toward Beautification of Aging Woman in Hatyai City Municipality, Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิรินุช ลอยกุลนันท์
มศัลธยา สายศรีโกศล
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: ความใส่ใจสุขภาพ;ผู้หญิงสูงอายุ;การเสริมความงาม
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract(Thai): ปัจจุบันผู้หญิงสูงอายุหันมาใส่ใจสุขภาพและความงามมากขึ้น แต่ยังไม่มีการศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจสุขภาพและทัศนคติต่อการเสริมความงามของผู้หญิงสูงอายุ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความใส่ใจสุขภาพ ระดับทัศนคติต่อการเสริมความงาม และเพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจสุขภาพและทัศนคติต่อการเสริมความงามของผู้หญิงสูงอายุ ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุเพศหญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จานวน 387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม นาข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test สถิติทดสอบ F-test หาความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Scheffe และสถิติสหสัมพันธ์ (Pearson’s product-moment correlation) ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงสูงอายุมีความใส่ใจสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมากและมีทัศนคติต่อการเสริมความงามในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย โดยผู้หญิงสูงอายุที่มีความรู้สึกแตกต่างกันต่อบรรยากาศภายในของสถานเสริมความงาม พบว่ามีทัศนคติต่อการเสริมความงามแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เนื่องจากสถานเสริมความงามที่มีบรรยากาศภายในเน้นความสะดวกสบาย สามารถทาให้ผู้หญิงสูงอายุมีทัศนคติต่อการเสริมความงามได้น้อยกว่าสถานเสริมความงามที่มีบรรยากาศภายในเน้นความเป็นส่วนตัว และยังพบว่าความใส่ใจสุขภาพของผู้หญิงสูงอายุมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการเสริมความงาม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันในระดับน้อยที่สุด ข้อเสนอแนะสาหรับงานวิจัย คือ ทางผู้ประกอบการต้องแสดงคุณภาพของการบริการให้ปรากฏ เช่น ความสะดวกสบาย ความสะอาด ความรวดเร็วในการให้บริการ ให้ความเชื่อมั่นในตัวผลิตภัณฑ์ ทาให้ผู้บริโภครู้สึกว่าการรับการบริการนั้น ปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยงหรือผลข้างเคียง เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการธุรกิจเสริมความงามหรือนักลงทุนรายใหม่ที่ต้องการเข้าสู่ตลาดของธุรกิจบริการเสริมความงาม
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/14098
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น