กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/14092
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ของความใส่ใจสุขภาพกับทัศนคติของนักท่องเที่ยวมาเลเซียที่มีต่อบริการนวดแผนไทยในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Relationship between Health Consciousness and Attitudes of Malaysian Tourists towards Thai Traditional Massage Services in Muang, Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กองพล ฤทธิโชติ
ปิยะนุช ปรีชานนท์
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: ความใส่ใจสุขภาพ;การนวดแผนไทย;ทัศนคติ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract(Thai): งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของนักท่องเที่ยวมาเลเซียที่มี ต่อบริการนวดแผนไทย ความใส่ใจสุขภาพของนักท่องเที่ยวมาเลเซีย รวมถึงความสัมพันธ์ของ ความใส่ใจสุขภาพกับทัศนคติของนักท่องเที่ยวมาเลเซียที่มีต่อบริการนวดแผนไทย โดยกาหนดกลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวมาเลเซียที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในอาเภอเมือง จังหวัดสงขลาระหว่างเดือนธันวาคม 2558 ถึงเดือนมีนาคม 2559 จานวน 500 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ T – Test และ F – Test (One Way Anova) และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 53.8 อายุระหว่าง 40 – 49 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.2 สถานภาพสมรสหรืออยู่ด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ 71 การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 76 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชนหรือห้างร้าน คิดเป็นร้อยละ 41.8 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 5,000 ริงกิต คิดเป็น 25.4 เลือกใส่ใจสุขภาพ ของตนเองด้วยการออกกาลังกายอย่างสม่าเสมอ คิดเป็นร้อยละ 31.6 ตัดสินใจใช้บริการนวด แผนไทยจากปัจจัยทางด้านผู้นวด เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการรับบริการ ตัวแปรด้านความ ใส่ใจสุขภาพอยู่ในระดับใส่ใจสุขภาพมากที่สุด และตัวแปรด้านทัศนคติที่มีต่อบริการนวดแผนไทย อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ความใส่ใจสุขภาพมีความสัมพันธ์กับทัศนคติโดยภาพรวมในทิศทางเดียวกันระดับสูงและมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กล่าวคือ เมื่อนักท่องเที่ยวมาเลเซียมีความใส่ใจสุขภาพของตนเองมากขึ้น จะทาให้นักท่องเที่ยวมาเลเซีย มีทัศนคติต่อบริการนวดแผนไทยในเชิงบวกมากยิ่งขึ้นและจะส่งผลต่อพฤติกรรมในลาดับถัดไป ดังนั้น หากผู้ประกอบการต้องการประสบความสาเร็จในธุรกิจนวดแผนไทย จึงต้องให้ความสาคัญกับพนักงานนวด เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ให้มากขึ้น และควรเปิดช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้มีความหลากหลาย เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มนักท่องเที่ยวมาเลเซียได้ทุกระดับ
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/14092
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น