กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13203
ชื่อเรื่อง: | ผลกระทบของการรับรู้ความเสี่ยงต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางออนไลน์ของผู้บริโภค ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Impact of Perceived Risk toward Intention to Buy Online Cosmetic of Consumer in Hatyai, Songkhla |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปิยะนุช ปรีชานนท์ วรัญญา หนูเพชร Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
คำสำคัญ: | พฤติกรรมผู้บริโภค หาดใหญ่ (สงขลา);เครื่องสำอาง หาดใหญ่ (สงขลา);การเลือกซื้อสินค้า หาดใหญ่ (สงขลา) |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการรับรู้ความเสี่ยงต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางออนไลน์ของผู้บริโภค โดยประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่จะซื้อเครื่องสำอางออนไลน์ในพื้นที่อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จานวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ด้วยการถดถอยพุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) งานวิจัยนี้กำหนดนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 15-25 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นเจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท และตั้งใจจะซื้อเครื่องสำอางผ่านทางเฟซบุ๊ค (Facebook) ระดับการรับรู้ความเสี่ยงในการซื้อเครื่องสำอางออนไลน์ โดยภาพรวมมีระดับการรับรู้ความเสี่ยงปานกลาง สิ่งที่ผู้บริโภคมีระดับการรับรู้มากที่สุด คือ การรับรู้ความเสี่ยงด้านจิตวิทยา โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ รายได้ และสื่อที่ผู้บริโภคตั้งใจจะซื้อเครื่องสำอาง ที่แตกต่างกันทาให้ความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางออนไลน์แตกต่างกัน ซึ่งผลกระทบของการรับรู้ความเสี่ยงต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางออนไลน์นั้น พบว่า การรับรู้ความเสี่ยงด้านการเงินและการรับรู้ความเสี่ยงด้านสังคม สามารถร่วมกันพยากรณ์เป็นปัจจัยสาคัญที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางออนไลน์ ซึ่งมีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางออนไลน์ ที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติ 0.05 จากผลการศึกษานี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคเพื่อสร้างทัศนคติ และภาพลักษณ์ที่ดีแก่ตราสินค้า โดยนำคนที่มีประสบการณ์จากการใช้เครื่องสำอางออนไลน์ โดยใช้การสื่อสารการตลาดโดยอาศัยการบอกเล่าสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นๆเพื่อสร้างการรับรู้ด้านบวกต่อสินค้าอย่างแท้จริงของผู้บริโภค |
รายละเอียด: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13203 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 460 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
5710521036.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
5710521036-manuscript.pdf | 595.86 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License