กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13194
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจสุขภาพ ทัศนคติต่อการศัลยกรรม และความตั้งใจทำศัลยกรรม ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Relationship among Health Consciousness , Attitude toward Surgery , and Intention to Surgery of Undergraduate Student at Prince of Songkla University , Hatyai Campus. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิรินุช ลอยกุลนันท์ ภูธร หนูเพชร Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
คำสำคัญ: | ความใส่ใจสุขภาพ;ทัศนคติ;ความตั้งใจทำ;ศัลยกรรมตบแต่ง |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจสุขภาพ ทัศนคติ และความตั้งใจทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ที่ยังไม่ได้รับทำศัลยกรรมเสริมความงาม จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการใช้สัมประสิทธ์ิ สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) โดยกำหนดนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง ร้อยละ 51.9 มีอายุ ระหว่าง 20-22 ปี ร้อยละ 51.7 มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 62.3 และมี จานวนสมาชิกในครอบครัวอยู่ที่ 3-4 คนร้อยละ 55.6 การศึกษาความสัมพันธ์พบว่าความใส่ใจ สุขภาพของนักศึกษามีความสัมพันธ์กันในทิศทางตรงกันข้ามกับความตั้งใจทา ศัลยกรรม อย่างไม่มี นัยสาคัญทางสถิติ อีกทั้งยังพบว่าความใส่ใจสุขภาพมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับทัศนคติ ต่อการทา ศัลยกรรมของนักศึกษาในระดับความสัมพันธ์ปานกลาง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระหว่างทัศนคติกับความตั้งใจทา ศัลยกรรมของนักศึกษา มีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกันในระดับต่า ซึ่งมีนัยสา คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นหากผู้ประกอบการต้องการกระตุ้นให้นักศึกษาทา ศัลยกรรมเสริมความงาม มากขึ้น จะต้องนา เสนอข้อดีที่ได้จากการทา ศัลยกรรมเสริมความงามมากกว่าจะกระตุ้นในเรื่องของ การรักและใส่ใจสุขภาพ |
รายละเอียด: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13194 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 460 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
5710521029.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
5710521029-manuscript.pdf | 470.33 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License