Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13192
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกขายน้ำยางสดให้แก่สหกรณ์: กรณีศึกษา สหกรณ์กองทุนสวนยางใน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
Other Titles: Factors influencing on selling fresh latex towards the cooperative: case study of Para rubber cooperative in Sadao district, Songkhla province
Authors: ทิพวรรณ จันทมณีโชติ
ศศิประภา อัคคอิชยา
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Keywords: น้ำยาง การตลาด;ชาวสวนยาง สะเดา(สงขลา);เกษตรกร
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ที่ เป็นสมาชิกของสหกรณ์กองทุนสวนยาง 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกขายน้า ยางสดให้แก่สหกรณ์ กองทุนสวนยาง อา เภอสะเดา จังหวัดสงขลา 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการขายน้า ยางสดของ เกษตรกรชาวสวนยางให้แก่สหกรณ์กองทุนสวนยาง โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์กองทุนสวนยางในอา เภอสะเดา จังหวัดสงขลา อย่างน้อย 1 ปี จา นวน 87 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติอย่างง่าย ทดสอบหาความสัมพันธ์ด้วยวิธีไคสแควร์ และการ วิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็ นเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 41-60 ปี ซึ่งมีลักษณะพื้นที่ถือครองในการ เพาะปลูกเป็นของตนเอง ในการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้านสาคัญ คือ ด้านเศรษฐกิจและสังคม และนโยบายของรัฐ พบว่าปัจจัยทั้ง 2 ด้าน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกขายน้า ยางสดให้แก่สหกรณ์กองทุนสวนยางของเกษตรกรอยู่ในระดับมาก โดยสิ่งที่เกษตรกรให้ความสาคัญ คือ เรื่องของการที่เกษตรกรได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน เกี่ยวกับการซื้อ-ขายยางพาราผ่านสหกรณ์ การ ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในการบริหารจัดการกับผลผลิต (น้า ยางพารา) และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่าง เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการ ส่วนปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้องทางการตลาด ประกอบด้วยปัจจัย 4 ด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจา หน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า ทุกด้าน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก มีรายละเอียดของแต่ละด้านดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ให้ความสาคัญ กับความน่าเชื่อถือของสหกรณ์ ด้านราคา ให้ความสาคัญกับ การมีส่วนเหลื่อมตลาดด้านราคาที่มากกว่า ระหว่างสหกรณ์กับร้านรับซื้อทั่วไป ด้านช่องทางการจัดจา หน่าย ให้ความสาคัญกับเรื่องสถานที่ตั้งของ สหกรณ์ที่สามารถมองเห็นได้ง่าย เป็นที่รู้จักของเกษตรกร สามารถต่อติดซื้อ – ขายน้า ยางได้อย่างสะดวก และด้านการส่งเสริมการตลาด ให้ความสาคัญกับ การประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับยางพาราแก่เกษตรกร ได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว เมื่อนา ข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ด้วยวิธีไคสแควร์ พบว่า อายุ มีความสัมพันธ์กับการที่ เกษตรกรขายน้า ยางสดให้แก่สหกรณ์ที่เป็นสมาชิกเป็นประจา ทุกวันที่ทา การกรีด (ด้านระยะเวลาและการ จัดส่ง) และลักษณะพื้นที่ถือครองในการเพาะปลูกของเกษตรกร มีความสัมพันธ์กับการที่เกษตรกรได้รับเงิน สดค่าน้ายางทุกวันที่ทา การกรีดและมีการขายน้า ยางสดให้สหกรณ์ (ด้านการจ่ายชาระ) นอกจากนี้การ วิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) พบว่า ปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้องทางการตลาด ทั้ง 4ด้าน มีความสัมพันธ์กับการที่เกษตรกรส่งขายน้า ยางสดในปริมาณทั้งหมด (100%) ที่กรีดได้ให้แก่สหกรณ์ที่ เป็นสมาชิก (ด้านปริมาณการซื้อ) นั่นคือ หากระดับอิทธิพลของเกษตรกรที่เกี่ยวกับปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้อง ทางการตลาดเพิ่มขึ้น 1 ระดับ โอกาสที่เกษตรกรจะตัดสินใจเลือกส่งขายน้า ยางสดในปริมาณทั้งหมด (100%) ที่กรีดได้ให้แก่สหกรณ์ที่เป็นสมาชิก (ด้านปริมาณการซื้อ) ลดลงร้อยละ 93.1 ปัญหาและอุปสรรคในการขายน้า ยางสดของเกษตรกรชาวสวนยางให้แก่สหกรณ์กองทุนสวนยาง แยกออกเป็น 4 ด้าน พบว่า 1) ปัญหาด้านเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ คือ ปัญหาเรื่องการให้บริการของเจ้าหน้าที่ สหกรณ์ 2) ปัญหาด้านการเงิน คือ ปัญหาเงินทุนสวัสดิการส่วนกลางสาหรับเกษตรกร 3) ปัญหาด้าน ขั้นตอนการเข้ารับบริการ คือ ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการในการตีเปอร์เซ็นต์ยาง และ 4) ปัญหาด้านการให้ ความช่วยเหลือ คือ ปัญหาการจัดสรรสวัสดิการจากสหกรณ์ตามข้อตกลงที่วางไว้ เมื่อเกษตรกรมีความ ต้องการ
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13192
Appears in Collections:460 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5710522040.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
5710522040-manuscript.pdf459.16 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons