กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13169
ชื่อเรื่อง: การรับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการต่อคลินิกเสริมความงามพฤกษาคอสเมด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Customers’ Perceived Service Quality of Pruksa Cosmed Clinic
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันทา เหมทานนท์
อรพัชร์ อังคสุวรรณ
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: คุณภาพบริการ;การรับรู้;ความคาดหวัง
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้ต่อบริการของผู้ใช้บริการ ตลอดจนประเมินการรับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการที่มีต่อคลินิกเสริมความงามพฤกษาคอสเมด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการคลินิกเสริมความงามพฤกษา คอสเมด สาขาหาดใหญ่ และสาขาสงขลา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามที่ใช้งานได้กลับมาทั้งสิ้น 390 ชุด วิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ t-test, F-test (One -Way ANOVA) และวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของ Scheffe’ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการมีความคาดหวังต่อบริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความคาดหวังมากที่สุดในด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจ และมีการรับรู้ต่อบริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการรับรู้มากที่สุดในด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ผลการเปรียบเทียบความคาดหวังต่อบริการจาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีอายุ อาชีพ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อบริการของคลินิกแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ ในด้านของการรับรู้ พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีประเภทการรักษาแตกต่างกัน มีการรับรู้ต่อบริการของคลินิกแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ผลเปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้ของผู้ใช้บริการที่มีต่อคลินิกเสริมความงามพฤกษาคอสเมด ยังพบว่า ผู้ใช้บริการรับรู้คุณภาพบริการของคลินิกอยู่ในระดับต่ากว่าที่คาดหวังทุกด้าน โดยด้านที่คุณภาพบริการต่ากว่าที่คาดหวังมากที่สุด คือ ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้คุณภาพบริการจาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีอายุ และอาชีพแตกต่างกัน มีการรับรู้คุณภาพบริการของคลินิกแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ผลการวิจัยครั้งนี้ เสนอแนะให้ผู้ประกอบการคลินิกมุ่งให้ความสาคัญกับการพัฒนาคุณภาพบริการในด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการให้บริการที่ตรงตามเวลานัดหมาย ซึ่งควรมีการกาหนดมาตรฐานเวลาในการให้บริการอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ผู้ประกอบการคลินิกควรนากลยุทธ์การตลาดทางเลือกมาใช้ในการดาเนินธุรกิจ และจัดโปรแกรมฝึกอบรมพนักงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการให้บริการ ซึ่งแนวทางเหล่านี้สามารถช่วยเพิ่มทางเลือกในการพัฒนาคุณภาพบริการให้กับผู้ประกอบการคลินิกความงามได้เป็นอย่างดี
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13169
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
5710522050.pdf1.36 MBAdobe PDFดู/เปิด
5710522050manuscript.pdf411.16 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons