กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13099
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยพฤติกรรมการลดและแยกขยะที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ขยะของพนักงานบริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors of waste reduction and separation behavior affecting employees' participation in waste management Haad Thip Public Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัฒนิจ โกญจนาท
กัญชพร เสนุภัย
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: การลดและแยกขยะของพนักงาน;การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะของพนักงาน;การคัดแยกขยะ;การจัดการของเสีย
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการลดและแยกขยะของพนักงาน และ ศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะ และศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมลดและแยกขยะที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะ ของพนักงานบริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานหาดใหญ่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในบริษัทหาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานหาดใหญ่ จำนวน 298 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Sample t-test One Way ANOVA และ Multiple Regression Analysis การวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการลดและแยกขยะของพนักงานบริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานหาดใหญ่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก โดยพฤติกรรมที่สามารถและแยกขยะได้มากที่สุดคือ ด้านการทิ้งขยะ รองลงมาด้านรณรงค์ให้พนักงานนำขยะมาแปลงรูปและนำกลับมาใช้ใหม่ ด้านจัดการกับขยะ และด้านรวบรวมขนขยะ 2) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะของพนักงานบริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานหาดใหญ่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง โดยส่วนใหญ่พนักงานมีส่วนร่วมในด้านการมีส่วนร่วมในการลงทุนปฏิบัติ ด้านการค้นหาปัญหา สาเหตุของปัญหา ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินกิจกรรม 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะ ของพนักงานบริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานหาดใหญ่ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาคาร/สถานที่ปฏิบัติงาน และพฤติกรรมการลดและแยกขยะ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 4) พฤติกรรม ด้านการทิ้งขยะ ด้านจัดการกับขยะ ด้านรวบรวมขนขยะ และด้านรณรงค์ให้พนักงานนาขยะมาแปลงรูปและนากลับมาใช้ใหม่ มีส่งผลต่อการมีส่วนร่วมบริหารจัดการขยะ ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, 2563
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13099
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น