กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12749
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ของสายการบินต่อการรับรู้ความเสี่ยงการใช้บริการของผู้บริโภค |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationship between Electronic Service Quality of Airline toward Consumers Perceived Risk of Service |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปิยะนุช ปรีชานนท์ ทัศน์พล แสงสี Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
คำสำคัญ: | สายการบิน;ความเสี่ยง;การรับรู้ของผู้รับบริการ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ของสายการบินต่อการรับรู้ความเสี่ยงการใช้บริการของผู้บริโภคโดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของสายการบินจานวน 385 คนทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ ทดสอบ T-test ,F-test และสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ระดับคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ของสายการบิน โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความเป็นส่วนตัว รองลงมา ได้แก่ ด้านความมีประสิทธิภาพ ด้านการบรรลุเป้าหมาย และน้อยที่สุดคือด้านความสามารถของระบบ ส่วนการรับรู้ความเสี่ยงการใช้บริกาของผู้บริโภคโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยผู้บริโภคจะรับรู้ความเสี่ยงของบริการอิเล็กทรอนิกส์ของสายการบิน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การรับรู้ความเสี่ยงด้านสังคม รองลงมา การรับรู้ความเสี่ยงด้านจิตวิทยา การรับรู้ความเสี่ยงด้านกายภาพ การรับรู้ความเสี่ยงด้านเวลา การรับรู้ความเสี่ยงด้านการเงิน และน้อยที่สุดคือการรับรู้ความเสี่ยงด้านหน้าที่ ส่วนการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล เพศที่ต่างกัน อายุที่ต่างกัน การศึกษาที่ต่างกัน และเงินเดือนที่ต่างกัน ทาให้ผู้บริโภครับรู้ความเสี่ยงการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของสายการบิน แตกต่างกัน ส่วนคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ของสายการบิน ทุกๆด้านมีทิศทางความสัมพันธ์ที่เป็นลบในระดับที่ต่า กับการรับรู้ความเสี่ยงการใช้บริการของผู้บริโภค อย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 งานวิจัยฉบับนี้เสนอแนะให้สายการบินทาการลดความเสี่ยงของผู้บริโภคโดยการสร้างความปลอดภัยในการทาธุรกรรมทางการเงินของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของสายการบิน ควรจะสร้างระบบล็อคอินสาหรับสมาชิกและรหัสผ่านทุกครั้งก่อนชาระเงินเพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลรั่วไหล |
รายละเอียด: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12749 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 460 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
55.ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ของสายการบิน.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
55.ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ของสายการบิน-บทความ.pdf | 415.64 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น