กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12400
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคที่ซื้อกางเกงยีนส์ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of consumer lifestyle and jeans buying in Hat Yai municipality, Songkhla province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุมนา ลาภาโรจน์กิจ
พจน์วรรธ วาทีรักษ์
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: การดำเนินชีวิต;ยีนส์ (เสื้อผ้า)
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคที่ซื้อกางเกง ยีนส์ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา การวิจัยนี้เป็ นวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้ แบบสอบถามแบบให้ผู้ตอบกรอกเอง ซึ่งผ่านการประเมินความเที่ยงและความตรงเป็นเครื่องมือใน การวิจัย เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 384 ตัวอย่าง วิเคราะห์ผลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างด้วยการวิเคราะห์ T-test และ One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60.2 อายุ 16 - 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 50.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 75.5 อาชีพนักเรียน/นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 38.0 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 7,500 บาท คิด เป็นร้อยละ 46.0 สถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 57.8 ระยะเวลาสวมใส่กางเกงยีนส์ครั้งแรกจนถึง ปัจจุบัน มากกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 47.9 ให้ความสำคัญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตด้านกิจกรรม คือสวมใส่กางเกงยีนส์เมื่อออกไปงานปาร์ตี้/สังสรรค์ ให้ความสำคัญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตด้าน ความความสนใจรูปทรงกางเกงยีนส์ที่เหมาะสมกับรูปร่างตนเอง และให้ความสำคัญกับรูปแบบการ ดำเนินชีวิตด้านความคิดเห็นว่ากางเกงยีนส์เป็นเครื่องแต่งกายที่สามารถสวมใส่ได้ทุกโอกาส ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานภาพ และระยะเวลาสวมใส่กางเกง ยีนส์แตกต่างกัน มีรูปแบบการดำเนินชีวิตแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบถึงกลุ่มผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัด สงขลาซึ่งมีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบกลุ่มผู้ต่อสู้ชีวิต (Strivers) ที่มีทรัพยากรและนวัตกรรม ค่อนข้างต่ำ เน้นสร้างและรักษาภาพทางสังคม รักสนุก ชอบแฟชั่น รวมไปถึงสิ่งที่เกี่ยวพันกับ รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ประกอบการสามารถ คาดคะเนความต้องการและทำนายแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผน กลยุทธ์ทางการตลาดของกางเกงยีนส์รูปแบบใหม่ๆ ให้ตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมายต่อไปในอนาคตได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
รายละเอียด: สารนิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12400
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น