กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12275
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในสภาพแวดล้อมการเรียนแบบยูบิควิตัส เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะอิสลาม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Inquiry-based Learning Model by Using Augmented Reality in Ubiquitous Learning Environment to Enhance Creativity of Islamic Arts
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โอภาส, เกาไศยาภรณ์
นิสรีน, พรหมปลัด
Faculty of Education (Educational Technology)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา
คำสำคัญ: การเรียนแบบยูบิควิตัส;ศิลปะอิสลาม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปแบบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในสภาพแวดล้อมการเรียนแบบยูบิควิตัส เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะอิสลาม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในสภาพแวดล้อมการเรียนแบบยูบิควิตัส เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะอิสลาม 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะอิสลามก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในสภาพแวดล้อมการเรียนแบบยูบิควิตัส 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนด้วยรูปแบบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในสภาพแวดล้อมทางการเรียนแบบยูบิควิตัส เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะอิสลาม 5) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในสภาพแวดล้อมทางการเรียนแบบยูบิควิตัส เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะอิสลาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 78 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในสภาพแวดล้อมแบบยูบิควิตัส เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะอิสลาม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่ (1) เครื่องมือจัดการเรียนการสอนคือ เทคโนโลยีเสมือนจริง (2) ด้านเนื้อหาบทเรียน เรื่องศิลปะอิสลาม (3) ด้านการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมการเรียนแบบยูบิควิตัส และการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ และ (4) ด้านการวัดและประเมินผล ประกอบด้วยการวัดความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะอิสลามของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนและประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง การพัฒนารูปแบบการเรียนฯ อยู่ระดับเหมาะสมมาก 2) ความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะอิสลามของผู้เรียนโดยใช้ เทคโนโลยีเสมือนจริงในสภาพแวดล้อมการเรียนแบบยูบิควิตัส หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) คุณภาพด้านเนื้อหาและสื่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก 4) การวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง อยู่ในระดับพึงพอใจมาก The purposes of this research were:1) to analyze and synthesize inquiry-based learning model by using augmented reality in ubiquitous leaning environment to enhance the creativity of Islamic arts 2) to develop inquiry-based learning model by using augmented reality in ubiquitous leaning environment to enhance the creativity of Islamic arts 3) to compare creative thinking of Islamic arts before and after participation inquiry-based learning activity by using augmented reality in ubiquitous learning environment 4) to study the students’ satisfaction on inquiry-based learning model by using augmented reality in ubiquitous learning environment. The sample consisted of 78 students from faculty of education, Prince of Songkla University. The research findings were as follow: 1) The components of development of learning model by using augmented reality in ubiquitous learning environment to enhance creativity of Islamic Art have composed of four components: (1) Educational media as augmented reality (2) Islamic Art Content (3) Learning process has consisted of ubiquitous learning environment and inquiry-based learning and (4) Evaluation has consisted of creative thinking and satisfaction evaluation. The development of learning model has been assessed at the appropriate level. 2) The students’creativity in Islamic Arts by using augmented reality in ubiquitous learning environment has a higher creativity achievement after learning at the .01 level of significance. 3) The quality of Islamic Arts content and educational media have been assessed at high level. 4) The analysis of satisfaction of students with leaning model by using augmented reality has been assessed at satisfied level
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12275
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:263 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1491.pdf7.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น