Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12270
Title: สมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Authors: อริยา คูหา, หริรักษ์ แก้วกับทอง
Faculty of Education (Education)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา
Keywords: สมรรถนะ;ความเป็นครู
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: งานวิจัยเรื่อง สมรรถนะความเป็นครู ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสมรรถนะความเป็นครู 5 สมรรถนะ คือ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน การบริการที่ดี การพัฒนาตนเอง การทางานเป็นทีม และจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครูของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 2. เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะความเป็นครู 5 สมรรถนะของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จาแนกตามเพศ สาขาวิชา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และศาสนา และ 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็น ปัญหาและอุปสรรค ข้อเสนอแนะสมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จานวน 210 คน ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาที่มีค่าความเชื่อมั่น .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบสมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาตามเพศ สาขาวิชา และศาสนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t - test) และการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยค่า F-test ผลจากการวิจัย พบว่า นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีสมรรถนะความเป็นครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเรียงตามลาดับจากมากที่สุด คือ สมรรถนะจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู รองลงมา คือ สมรรถนะการทางานเป็นทีม สมรรถนะการบริการที่ดี สมรรถนะการมุ่งสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน และน้อยที่สุด คือ สมรรถนะการพัฒนาตนเอง สมรรถนะการมุ่งสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ด้านความสามารถในการวางแผน การกาหนดเป้าหมาย การวิเคราะห์ สังเคราะห์ภารกิจงานของนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันในรายการ “วิเคราะห์ภารกิจงานเพื่อวางแผนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ” อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านความสามารถในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่างกันในรายการ “ติดตามผลประเมินอย่างต่อเนื่อง”อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านความสามารถในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยรวมนักศึกษาที่ศึกษาสาขาวิชาต่างกันมีความคิดเห็นต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สมรรถนะการบริการที่ดี ด้านการปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ ของนักศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่างกันในรายการ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นเพื่อพัฒนาตนเอง และพัฒนางาน”อย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 สมรรถนะการทางานเป็นทีม ด้านการให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนร่วมงาน นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่างกันในรายการ “ช่วยเหลือ สนับสนุน เพื่อนร่วมงานเพื่อสู่เป้าหมายความสาเร็จร่วมกัน” ด้านการแสดงบทบาทผู้นา/ผู้ตามนักศึกษาที่มีเพศ “การแสดงบทบาทผู้นา/ ผู้ตามในการทางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมตามโอกาส และรายการ “เน้นการบริการบนพื้นฐานความสาเร็จในผลงานตามบทบาท ข ข หน้าที่และความรับผิดชอบที่มีอยู่” อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ด้านการเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้อื่นในการพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุผลสาเร็จตามเป้าหมาย นักศึกษาที่มีศาสนาต่างกันมีความคิดเห็นต่างกันในรายการ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ รับฟังความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างเครือข่ายและทีมงาน” และ “ร่วมกับเพื่อนร่วมงานในการสร้างวัฒนธรรมการทางานเป็นทีมให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา”อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมรรถนะจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู ด้านการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่างกันในรายการ “ปฏิบัติตนตามหลักการครองตน ครองคน ครองงานเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสาเร็จ” และนักศึกษาที่ศึกษาสาขาวิชาต่างกันมีความคิดเห็นต่างกันในรายการ “เป็นแบบอย่างที่ดีในการส่งเสริมผู้อื่นให้ปฏิบัติตนตามหลักจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครูและพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับ”อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .001
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12270
Appears in Collections:270 Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rs006_62.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.