กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12164
ชื่อเรื่อง: Factors Affecting Academic Achievement in English Listening-Speaking Course
ชื่อเรื่องอื่นๆ: ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษฟังพูด
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Phattrawan, Tongkumchum
Suchawadee, Prasobnet
Faculty of Sciecnce and Technology (Mathematics and Computer Science)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์
คำสำคัญ: Achievement;ผลสัมฤิทธิ์ทางการเรียน
วันที่เผยแพร่: 2018
สำนักพิมพ์: Prince of Songkla University, Pattani Campus
บทคัดย่อ: English proficiency of Thai undergraduate students has gained a lot of attention among researchers. High English proficiency may help students exceed in their studies and gain competitive advantages at work. This study aims to determine factors associated with high English proficiency among students at Prince of Songkla University (PSU), Pattani Campus. The study sample comprised of 323 first year students who enrolled in the English Listening-Speaking course during first semester of the academic year 2013. The outcome variables were defined as a binary variables; whether a student achieved grade C+ and above (high English proficiency) and grade C and below (low English proficiency). The questionnaire was used to collect data on students’ demographic, education and socioeconomic backgrounds, high school English studying, teacher styles, classroom atmosphere, teaching methods and attitude and motivation towards English language and learning behaviors outside classroom. Chi-squared test and logistic regression model were used to analyze data. The overall percent of high English proficiency was 48.3%. English proficiency was associated with major, gender, religious, high school GPAX, taking English extra tutorial class, activating and assessing prior knowledge and skills, and being enjoy and satisfied in English classroom. The high English proficiency was significantly higher than average among students in education major, being male, being Muslim, and achieved more than 3.00 of GPAX in high school level. The students who discontinued extra tutorial class had higher English proficiency than average. The increase in activating and assessing prior knowledge and skills and being joyful and satisfied in English classroom corresponded to a higher percent of high English proficiency. สมรรถนะภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในหมู่นักวิจัย การมีสมรรถนะภาษาอังกฤษในระดับสูงช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้แก่นักศึกษาด้านการศึกษาและการทำงาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษฟัง-พูด ระดับสูง และสร้างตัวแบบการถดถอยลอจิสติกในการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษฟัง-พูด ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนรายวิชา 417-101 ภาษาอังกฤษฟัง-พูด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 323 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ตัวแปรตาม คือระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา 417-101 ภาษาอังกฤษฟัง-พูด จำแนกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ในระดับสูง (นักศึกษาที่ได้เกรด A, B+, B และ C+) และ กลุ่มที่ 2 นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ในระดับต่ำ (นักศึกษาที่ได้เกรด C, D+, และ D) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลอื่น ๆ คือ แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย บุคลิกผู้สอน บรรยากาศภายในห้องเรียน วิธีการสอน ทัศนคติและแรงจูงใจต่อภาษาอังกฤษ และพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนอกห้องเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบไคสแคว์และการถดถอยลอจิสติก ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษฟัง-พูดอยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 48.3 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษฟัง-พูด ระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมี 7 ตัวแปร คือ สาขาวิชา เพศ ศาสนา ระดับผลการเรียนเฉลี่ยระดับมัธยมศึกษา ความต่อเนื่องในเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ การนำมารู้เดิมและทักษะมาใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษ และความสนุกและความพอใจในการเรียนภาษาอังกฤษ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษฟัง-พูดสูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มนักศึกษาวิชาเอกด้านการศึกษา เพศชาย นับถือศาสนาอิสลาม มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยระดับมัธยมศึกษา มากกว่า 3.00 เรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบไม่ต่อเนื่อง สามารถนำมารู้เดิมและทักษะมาใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษได้มาก และรู้สึกสนุกและมีความพอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษในห้องเรียน
รายละเอียด: Thesis (M.Sc.(Research Methodology))--Prince of Songkla University, 2018
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12164
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:746 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1549.pdf2.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น