กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12160
ชื่อเรื่อง: | การหาอายุของตะกอนดินรอบกำแพงเมืองประวัติศาสตร์จังหวัดสงขลาด้วยเทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Sedimental Dating of Historical Wall, Songkhla Province Using Thermoluminescence Technique |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธรณิศ, นาวารัตน์ อุมมูอัยมาน, มะดีเยาะ |
คำสำคัญ: | กำแพงเมืองประวัติศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
บทคัดย่อ: | แหล่งโบราณคดีกำแพงเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นหนึ่งในพื้นที่ ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นจำนวนมาก งานวิจัยนี้มุ่งไปที่การหาอายุตะกอนดินบริเวณแหล่งโบราณคดีกำแพงเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ด้วยเทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ ซึ่งผลจากการวัดพบว่าปริมาณรังสีสะสมต่อปีของตัวอย่าง SK012, SK013, SK016, SKTP1 และ SKTP2 เท่ากับ 64.595 ± 3.06 mGy/y, 55.892 ± 1.00 mGy/y, 68.251 ± 0.33 mGy/y, 77.085 ± 2.06 mGy/y และ 62.898 ± 1.47 mGy/y ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์หาค่าปริมาณโดสรังสีสะสมที่สอดคล้องอยู่ที่อุณหภูมิ 175 ๐C ของตัวอย่าง SK012, SK013, SK016, SKTP1 และ SKTP2 ได้ 13.00 ± 0.88 Gy, 11.37 ± 1.54 Gy, 14.31 ± 0.35 Gy, 15.02 ± 0.28 Gy และ 13.60 ± 1.46 Gy ตามลำดับ ซึ่งผลการวัดดังกล่าวนำไปหาอายุของตัวอย่าง SK012, SK013, SK016, SKTP1 และ SKTP2 ได้ผลเป็น 201 ± 025 years, 203 ± 042 year, 210 ± 067 years, 195 ± 084 years และ 216 ± 023 years ตามลำดับ ผลดังกล่าวมีความสอดคล้องกับการรายงานของสำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ที่ได้รายงานอายุเฉลี่ยไว้ที่ 180 ± 36 years ด้วยเทคนิคคาร์บอน-14 Historical Wall located in Songkhla Province, Thailand is the one of many regions where plenty of archaeological evidence was discovered. This research concerned about the determination of the archaeological age of sediment collected at the Historical Wall by thermoluminescence technique. The measurement results showed that the average annual doses of SK012, SK013, SK016, SKTP1 and SKTP2 were 64.595 ± 3.06 mGy/y, 55.892 ± 1.00 mGy/y, 68.251 ± 0.33 mGy/y, 77.085 ± 2.06 mGy/y and 62.898 ± 1.47 mGy/y, respectively. While the analysis in terms of accumulative doses at 175๐C displayed that SK012, SK013, SK016, SKTP1 and SKTP2 were 13.00 ± 0.88 Gy, 11.37 ± 1.54 Gy, 14.31 ± 0.35 Gy, 15.02 ± 0.28 Gy and 13.60 ± 1.46 Gy, respectively. The measurements were then used to deduce the archaeological age of SK012, SK013, SK016, SKTP1 and SKTP2. The outcome were 201 ± 025 years, 203 ± 042 years, 210 ± 067 years, 195 ± 084 years and 216 ± 023 years, respectively. The results were comparable to 180 ± 36 years as measured by using carbon 14 by the fine art department ministry of culture (Songkhla office). |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(ฟิสิกส์ประยุกต์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12160 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 722 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
TC1545.pdf | 4.7 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น