กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12153
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Measurement Scale on Media Literacy in the 21st Century for Lower Secondary School Student by Applying Polytomous Item Response Theory
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ศักดิ์, รอบคอบ
ปวีณา, มะแซ
Faculty of Education (Measurement and Educational Research)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา
คำสำคัญ: พหุวิภาค
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษ ที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) หาคุณภาพของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค และ 3) สร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 จานวน 1,000 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีรูปแบบเป็นข้อสอบสถานการณ์ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก ได้ตรวจสอบคุณภาพโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CTT) ด้วยวิธีการตรวจสอบความตรงเชิงพินิจ (Face Validity) และ ความเที่ยงด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และในขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพด้วยทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบ พหุวิภาค (Polytomous IRT) ได้ตรวจสอบความเป็นเอกมิติ (Unidimension) โดยใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ตรวจสอบพารามิเตอร์ของข้อสอบ ได้แก่ อานาจจาแนก (α) ความยาก (β) และสารสนเทศของแบบวัด (TIF) ด้วย Grade response model (GRM) และสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 แบบคะแนนทีปกติ (Normalized T-Score) ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีข้อคาถาม จานวน 42 ข้อ จาแนกเป็น 5 องค์ประกอบ คือ 1) ทักษะการเข้าถึง 2) ทักษะการวิเคราะห์ 3) ทักษะการประเมิน 4) ทักษะการสร้างสรรค์ และ 5) ทักษะการ มีส่วนร่วม ตรวจสอบความตรงเชิงพินิจ ทุกข้อมีค่าเท่ากับ 0.60 – 1.00 วิเคราะห์ค่าอานาจจาแนกด้วยวิธีการทดสอบค่าที t-test ได้ข้อคาถามที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจานวน 42 ข้อ ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.87 2. คุณภาพของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้นด้านความเป็นเอกมิติ (Unidimension)ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ทักษะการรู้เท่าเท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 5 ทักษะ มีความเป็นเอกมิติ เมื่อทาการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบ พหุวิภาค (Polytomous IRT) ค่าอานาจจาแนกรายข้อ (α) อยู่ระหว่าง 0.06 – 2.01 ส่วนค่าความยาก (β) ของแต่ละรายการคาตอบ มีค่าเรียงลาดับจากน้อยไปมากทุกข้อ และค่าสารสนเทศของแบบวัดมีความเที่ยงเท่ากับ 0.89 3. เกณฑ์ปกติของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น คะแนนดิบอยู่ระหว่าง 59 – 166 คะแนนเปอร์เซ็นไทล์ มีค่าตั้งแต่ 0.05 - 99.95 และคะแนนทีปกติตั้งแต่ 17 ถึง 83 The purposes of this research were 1) to construct of measurement scale on 21st century media literacy measure of lower secondary school 2) to verify the quality by applying Polytomous Item Response Theory 3) to construct the norms of Measurement Scale on 21st Century Media Literacy Measure of Lower Secondary School. The sample were 1,000 student selected by stratified random sampling technique. The students selected were studying in lower secondary school under the jurisdiction of the Secondary Education Office Service Area 15. The measurement scale designed the situational test as a four-multiple choice was performed via the Classical Test Theory (CTT) by Face validity and reliability with Cronbach's alpha coefficient, and the quality of the measurement scale by Polytomous (IRT). Moreover, Unidimension and parameter testing was accomplished by confirmatory factor analysis (CFA), discriminant and difficulty, and test information (TIF) was conducted via Grade Response Model (GRM), respectively. Otherwise, the normalized of Measurement Scale on 21st Century Media Literacy Measure of Lower Secondary School construction with Normalized T-Score. The findings were; 1. The Measurement Scale on 21st Century Media Literacy Measure of Lower Secondary School composed five components with has 42 item including 1) access skills 2) analyze skills 3) evaluate skills 4) create skills and 5) participate skills. The Face validity of the scale range from 0.60 to 1.00, t-test was used to analyze the discrimination. The reliability was 0.87. 2. The quality measurement scale the first is to check the agreement on the Unidimension, using by confirmatory factor analysis (CFA), found that 21st century skills in media literacy were unmistakable when examining the quality of the measurement based on the Polytomous IRT. The slope parameter (α) is between0.02 - 2.01 and the difficulty value The threshold value of each item (β) is the lowest order value, and reliability is 0.89. 3. The norm of Measurement Scale on 21st Century Media Literacy Measure of Lower Secondary School, students raw scores rank were from 59 to 166. And percentile rank were from 0.05 to 99.95; t-score were from 17 to 83.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การวิจัยและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12153
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:276 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1537.pdf4.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น