Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11844
Title: วิทยานิพนธ์ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: Effects of 4 MAT Teaching Approach on Essence Group of Social Studies, Religion and Culture Achievement and Achievement Motivation of Grade Five Students
Authors: คูหา, อริยา
สิงห์ศร, ก้องนภา
Faculty of Education (Psychology and Counseling)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT;ผลสัมฤิทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT 2) ระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 4) เปรียบเทียบแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One - Group Pretest - Posttest Design) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนวัดนาประดู่ จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ดำเนินการทดลองจำนวน 16 ชั่วโมง แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .70 แบบประเมินแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .93 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ร้อยละพัฒนาการด้วยวิธีคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ (Relative Gain Score) ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT หลังการทดลองอยู่ในระดับสูง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่ม สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หลังการทดลองอยู่ในระดับสูง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง The purposes of this research aim to study 1) Academic achievement level of Essence Group social studies, religion and culture of Grade Five Students who taught through 4 MAT Teaching Approach. 2) Achievement Motivation level of Grade Five Students who taught through 4 MAT Teaching Approach on Essence Group social studies, religion and culture. 3) to Compare Academic achievement of Essence Group social studies, religion and culture of Grade Five Students who taught through 4 MAT Teaching Approach between pre-test and post-test. 4) to Compare Achievement Motivation of Grade Five Students who taught through 4 MAT Teaching Approach on Essence Group social studies, religion and culture. The study Design of Using one-group pretest-posttest designed. The target group was 27 students of Grade Five Students in the second semester of the academic year in 2559 from Wat Na Pradu School, Tool used were 4 MAT of 8 Lesson plans, Academic achievement test on Essence Group social studies, religion and culture with the reliability of 0.70, Achievement Motivation questionnaire with the reliability of 0.93. Data Analyzed by using percentage, μ, σ, percentage improvement by Relative Gain Score. The finding were as follows: After the experiment, Academic achievement of Essence Group social studies, religion and culture of Grade Five Students who taught through 4 MAT Teaching Approach was at high level, Achievement motivation of Grade Five Students after taught through 4 MAT Teaching Approach was at high level as well. There were a progressive improvement on Academic achievement of social studies of Grade Five Students who taught through 4 MAT Teaching Approach as compare between pretest and posttest as well as achievement Motivation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(วิชาจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11844
Appears in Collections:286 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1485.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.