กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11840
ชื่อเรื่อง: ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of STEM Education on Chemistry Achievement, Problem Solving Ability and Instructional Satisfaction of Grade 12 Students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โมพันธุ์, ณัฐินี
วิเชียรสร้าง, เกรียงศักดิ์
Faculty of Education (Education)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา
คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้;แนวคิดสะเต็มศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนคุระบุรีชัยพัฒนาพิทยาคม อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 14 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนรวม 30 คน ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 24 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ดำเนินการทดลองตามรูปแบบ กลุ่มเดียววัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา (The One-Group Pretest-Posttest Time-Series Research Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าคะแนนพัฒนาการ (Growth Score) การทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน (t-test dependent group) และ Repeated ANOVA Test ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยวิชาเคมีหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีคะแนนพัฒนาการทางการเรียนวิชาเคมีเฉลี่ยร้อยละ 54.67 ซึ่งมีพัฒนาการระดับสูง 2. นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด This research aimed to study the Effect of STEM Education on Chemistry Achievement, Problem Solving Ability and Instructional Satisfaction of Grade 12 Students. The target group stood for 30 students of grade 12 at Kuraburi Chaipattana Pittayakom School, Churaburi District, Phangnga Province, which is under jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office 14, in the first semester of the 2017 academic year. They were instructed through using STEM Education approach learning for 24 hours. The research instruments consisted of lesson plan of the STEM Education, a Chemistry achievement test, a Problem Solving Ability test, and a questionnaire of Instructional Satisfaction. The experimental research was conducted using one group pretest-posttest time-series research design. The data were analyzed by means, standard deviations, the growth scores, T-test dependent group and Repeated ANOVA Test. The study found that 1. The students’ achievement mean score on Chemistry in the post-test was higher than that in the pre-test after learning by STEM Education approach at the 0.01 level of significance and the growth score of Chemistry achievement was 54.67 % which was in the maximum level. 2. The students’Problem Solving Ability mean score in the post-test was higher than that in the pre-test after learning by STEM Education approach at the 0.01 level of significance. 3. The students’ Instructional Satisfaction towards STEM Education approach was at maximum level.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11840
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:270 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1401.pdf6.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น