กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11811
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยพหุระดับในการเลือกเรียนภาษาต่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางภาษาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Multi-level Factors of Foreign Language Studies Influencing on Languages Literacy of Higher Education Students in the Three Southern Border Provinces
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาเต๊ะ, อาฟีฟี
จินตรา, ปาอีซะห์
Faculty of Education (Measurement and Educational Research)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา
คำสำคัญ: สามจังหวัดชายแดนภาคใต้;ภาษาต่างประเทศ
วันที่เผยแพร่: 2560
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาปัจจัยการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างนักศึกษากลุ่มภาษาตะวันตกและกลุ่มภาษาตะวันออก และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับในการเลือกเรียนภาษาต่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางภาษาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559จำนวน 1,332 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบประเมินระดับความสามารถทางภาษาของนักศึกษา2) แบบสอบระดับความสำคัญของปัจจัยในการเลือกเรียน วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์จำแนกเชิงเส้นของฟิชเชอร์ด้วยวิธี Enter และ Stepwise และวิเคราะห์พหุระดับ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มด้วยวิธี Enterพบว่า ตัวแปรที่สามารถจำแนกการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัจจัยด้านความคาดหวัง รองลงมาคือ เกรดรายวิชาด้านภาษา ภูมิลำเนา ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยด้านสังคมปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสถาบันระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามลำดับส่วนผลการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มด้วยวิธี Stepwise พบว่า ตัวแปรที่สามารถจำแนกการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัจจัยด้านความคาดหวังรองลงมา คือ เกรดรายวิชาด้านภาษา ภูมิลำเนาปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจปัจจัยด้านสังคมและสถาบันระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามลำดับ 2. การวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับพบว่า ตัวแปรระดับนักศึกษา ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจปัจจัยด้านเศรษฐกิจเกรดรายวิชาด้านภาษาและสถาบันระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีอิทธิพลทางบวกต่อความสามารถทางภาษาของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05สำหรับตัวแปรระดับสาขาวิชา พบว่า มีเพียงปัจจัยด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลทางบวกต่อความสามารถทางภาษาของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ทั้งนี้ตัวแปรระดับนักศึกษาและตัวแปรระดับสาขาวิชาทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของความสามารถทางภาษาได้ร้อยละ57 The purpose of this research were to 1) study the factors affecting thedecision to study foreign languages ofhigher education students in the threesouthern border provinces between western and eastern languages,and 2) analyze the multi-level factors of foreign language studies influencing on languagesliteracy of higher education students in the three southern border provinces. Thesample of higher education students in the three southern border provinces were1,332 students studying in the first semester of academic year 2016 by multi-stage randomsampling techniques.The research instruments used in the study were two scalerating questionnaires: 1) The student’s language literacy assessment form,2) The form ofimportant levels of influencing the decision to study.Data were analyzed with basic statistics, Fisher's linear discriminant analysis with Enter and Stepwisemethods, and multi-level analysis. Analysis results showed 1. The discriminant analysis by enter method found that the variables of the possibility to classify the decision to study the foreign languages of higher studentsin the three southern border provinces were expectation, grade, province, teaching and learning, curriculum, economicandsocial, respectively. Otherwise, the analysis by stepwise method found that the variables of the possibility to classify the decision to study the foreign languages of higher studentsin the three southern border provinces were expectation, grade, province, teaching and learning, curriculum, economicandsocial, respectively. 2. Multi-level analysis found that student-level variableswere motivation, economic, grade, and province have a positive influenceon student’s language literacy. For major variables, there were only safety that have a significant positive influence on the student's language literacy. Both student variables and majors variables were able to explain variation in language literacy by 57 percent.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การวิจัยและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11811
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:276 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1470.pdf6.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น