กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11790
ชื่อเรื่อง: ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่องสมดุลเคมีที่มีต่อแบบจำลองทางความคิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of 5Es Inquiry-based Learning of Chemical Equilibrium on Mental Models, Chemistry Achievement and Satisfaction of Grade-11 Students of Dechapattanayanukul School, Pattani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โมพันธุ์, ณัฐินี
อูมาร์, อับดุลเลาะ
Faculty of Education (Education)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา
คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้;ผลสัมฤิทธิ์ทางการเรียน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแบบจำลองทางความคิดเรื่องสมดุลเคมี 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5/1 โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 18 ชั่วโมง เครื่องที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่องสมดุลเคมี ใบกิจกรรมแบบจำลองทางความคิด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน ดำเนินการทดลองแบบศึกษากลุ่มตัวอย่างเดียวมีการวัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา (One Group Time-Series Research Design) ผลการวิจัย พบว่า แบบจำลองทางความคิดเรื่องสมดุลเคมีครั้งที่ 1 ถึง 5 ของนักเรียนดีขึ้นตามลำดับ และพบว่า คะแนนเฉลี่ยแบบจำลองทางความคิดในแต่ละครั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นครั้งที่ 3 กับ 5 และครั้งที่ 4 กับ 5 ส่วนแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) อยู่ในระดับมากที่สุด The purposes of this research were as follows: 1) to study of chemical equilibrium on mental models, 2) chemistry achievement, and 3) satisfaction of grade-11 by using 5Es inquiry-based learning on chemical equilibrium. The sample of the study were thirty-two students of grade 11/1 in the second semester of the academic year 2016 at Dechapattanayanukul School, Muang District, Pattani Province, Thailand. They were selected by Simple Random Sampling and instructed via using 5Es Inquiry-based for 18 hours. The research instruments consisted of lesson plans for 5Es Inquiry-based under topic of Chemical Equilibrium, mental model activity sheets, achievement test and questionnaires on satisfaction towards the instruction. The experimental research was conducted using one group through time-series research design. The results found that the student’s mental models showed an upward trend and the mean scores were differenced at the statistical significant level of .01 excepted the third between the fifth and the fourth between the fifth of mental models. Moreover, the data of achievement test, questionnaires on satisfaction towards the instruction were analyzed by mean and standard deviation. The results were shown as follow. The student’s mean score of the post-test on chemical achievement was higher than mean score of the pre-test at the statistical significant level of .01. The students’ satisfaction towards 5Es Inquiry-based learning was at highest level.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11790
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:270 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1458.pdf4.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น